- บทนำ
- การทำงานของฮาร์ดดิสก์
- การเขียนข้อมูลลงแผ่นฮาร์ดดิสก์ได้
- การจัดเรียงข้อมูลลงแผ่นฮาร์ดดิสก์
- การทำงานของหัวอ่าาน-เขียน
- การเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์
- ระยะเวลาอ่านหรือหาข้อมูล
- ส่วนประกอบหลักของฮาร์ดดิสก์
- พาร์ติชันฮาร์ดดิสก์
- ประเภทของพาร์ติชัน
- ปัญหาของฮาร์ดดิสก์
- การบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
- สามารถบอกการทำงานของฮาร์ดดิสก์ได้
- สามารถบอกถึงวิธีอ่าน-เขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ได้
- สามารถอธิบายถึงส่วนประกอบหลักของฮาร์ดดิสก์ได้
- สามารถแก้ปัญหาของฮาร์ดดิสก์เบื้องต้นได้
พื้นฐานความรู้ที่ควรมี
- อธิบายความหมายของความจำหลักได้
- อธิบายถึงวิธีการอ่าน-เขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ได้
- สามารถบอกถึงขั้นตอนการทำงานของฮาร์ดดิสก์
- สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ได้
"ฮาร์ดดิสก์"เป็นอุปกรณ์ที่รวมการประกอบทั้งกลไกการทำงานและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าฮาร์ดดิสก์นัน้จะได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนที่สุด ในด้านอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงแล้วการอธิบายการทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้นถือว่าได้ง่ายภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่น Aluminum Alloy Platter หลายแผ่นหมุนอยู้ด้วยความเร็วสูง โดยจะมีจำนวนแผ่นขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อต่างกันไป
แสดงภาพฮาร์ดดิสก์ |
การทำงานของฮาร์ดดิสก์
การทำงานของฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ตอนนั้น มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20นิ้ว มีความจุระดับเพียงเมกะไบต์เท่านั้น ( 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1,000,000 ไบต์) ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ (Fixed disks) หรือ วินเชสเตอร์ (Winchesters) เป็นชื่อที่บริษัท IBM เรียกผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของพวกเขา ภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เพื่อให้มีความแตกต่างจากฟลอปปี้ดิสก์( Floppy disk) ภายในฮารด์ดิสก์ มีส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด คือ จานกลมแข็ง ซึ่งฉาบไว้ด้วยสารแม่เหล็ก
หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี
มีความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์ดังนี้
- สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
- สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
- แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.00 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 10 ถึง 40 กิกะไบต์ ( 1กิกะไบต์ = 1000 เมกะไบต์) ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ
- อัตราการไหลของข้อมูล ( Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที
- เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20มิลลิวินาที
การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้นมีลักษณะเดียวกับแผนที่ ข้อมูลจะถูกจักเก็บไว้ในแทร็คบนแพล็ตเตอร์ ดิสก์ไดร์ฟทั่ว ๆ ไปจะมีแทร็คประมาณ 2,000 แทร็คต่อนิ้ว (TPI) Cylinder จะหมายถึงกลุ่มของ Track ที่อยู่ บริเวณหัวอ่านเขียนบนทุก ๆ แพล็ตเตอร์ ในการเข้าอ่านข้อมูลนั้นแต่ละแทร็คจะถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า Sector กระบวนการในการจัดการดิสก์ ให้มีแทร็ค และเซกเตอร์เรียกว่า การฟอร์แมต ฮาร์ดดิสก์ ในปัจบันส่วนใหญ่จะได้รับการฟอร์แมตมาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติ เซกเตอร์ จะมีขนาด เท่ากับ 512 ไบต์ คอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลที่ได้รับการฟอร์แมตนี้ เหมือนกับที่นักท่องเที่ยวใช้แผนที่ ในการเดินทาง คือใช้ระบุว่าข้อมูลใดอยู่ที่ตำแหน่งใดบนฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นหากฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้รับการฟอร์แมต เครื่องคอมพิวเตอร์ จะก็ไม่รู้ว่าข้อมูลถูกเก็บไว้ที่ใด และจะนำข้อมูลมาได้จากที่ไหนในการออกแบบฮาร์ดดิสก์ แบบเก่านั้นจำนวน เซกเตอร์ต่อแทร็กจะถูกกำหนดตายตัว เนื่องจากพื้นที่แทร็คบริเวณขอบนอกนั้นมีขนาด ใหญ่กว่าบริเวณขอบใน ของฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นพื้นที่สิ้นเปลืองของแทร็คด้านนอกจึงมีมากกว่า แต่ในปัจจุบัน ได้มีการใช้เทคนิคการฟอร์แมต รูปแบบใหม่ที่ เรียกว่า Multiple Zone Recording เพื่อบีบข้อมูลได้มากขึ้น ในการนำมาจัดเก็บบนฮาร์ดดิสก์ได้ Multiple Zone Recording จะอนุญาตให้พื้นที่แทร็คด้านนอก สามารถ ปรับจำนวนคลัสเตอร์ได้ทำให้พื้นที่แทร็ค ด้านนอกสุดมีจำนวนเซกเตอร์มากว่า ด้านในและด้วยการแบ่งให้พื้น ที่แทร็คด้านนอกสุดมีจำนวนเซกเตอร์มากว่าด้านในนี้ ข้อมูลสามารถจัดเก็บได้ตลอดทั้งฮาร์ดดิสก์ ทำให้มีการใช้เนื้อที่บนแพล็ตเตอร์ได้อย่างคุ้มค่า และเป็นการ เพิ่มความจุโดย ใช้จำนวนแพล็ตเตอร์น้อยลงจำนวนของเซกเตอร์ต่อแทร็ค ในดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วแบบปกติจะมีอยู่ ประมาณ 60 ถึง 120 เซกเตอร์ภายใต้การจัดเก็บแบบ Multiple Zone Recording
การทำงานของหัวอ่านเขียน
หัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์นับเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงที่สุด และลักษณะของมัน ก็มีผลกระทบอย่างยิ่งกับ ประสิทธิภาพ ของฮาร์ดดิสก์โดยรวม หัวอ่านเขียนจะเป็นอุปกรณ์แม่เหล็ก มีรูปร่างคล้าย ๆ ตัว “C” โดยมีช่อง ว่างอยู่เล็กน้อย โดยจะมีเส้นคอยล์ พันอยู่รอบหัวอ่านเขียนนี้เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า การเขียนข้อมูล จะใช้ วิธีการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านคอยล์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กซึ่งจะส่งผลให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงที่แพล็ตเตอร์ ส่วนการอ่านข้อมูลนั้น จะรับค่าความเปลี่ยนแปลง ของสนามแม่เหล็กผ่าน คอยล์ที่อยู่ที่หัวอ่าน เขียนแล้วแปลงค่าที่ได้เป็น สัญญาณส่งไปยังซีพียู ต่อไปเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปความ หนาแน่นของข้อมูลก็ยิ่ง เพิ่มขึ้นในขณะที่เนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลก็จะลดขนาดลง ขนาดบิตของข้อมูลที่เล็กนี้ ทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว ส่งไปยังหัวอ่านนั้นอ่อนลง และอ่านได้ยากขึ้น ด้วเหตุนี้ทางผู้พัฒนาจึงจำเป็น ต้องวางหัวอ่านให้กับสื่อมากขึ้นเพื่อ ลดการสูญเสียสัญญาณ จากเดิมในปี 1973 ที่หัวอ่านเขียนบินอยู่ห่างสื่อ ประมาณ 17 microinch (ล้านส่วนของนิ้ว) มาในปัจจุบันนี้หัวอ่านเขียน บินอยู่เหนือแผ่นแพล็ตเตอร์เพียง 3 microinch เท่านั้น เหมือนกับการนำเครื่องบิน โบอิ้ง 747 มาบินด้วยความเร็วสูงสุด โดยให้บินห่างพื้นเพียง 1 ฟุต แต่ที่สำคัญก็คือหัวอ่านเขียนนั้นไม่เคยสัมผัส กับแผ่นแพล็ตเตอร์ ที่กำลังหมุนอยู่เลยเมื่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ถูกปิด ฮาร์ดดิสก์จะหยุดหมุนแล้วหัวอ่านเขียนจะ เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย และหยุดอยู่ตรงนั้น ซึ่งแยกอยู่ต่างหากจากพื้นที่ที่ใช้เก็บข้อมูล
Seek Time
คือระยะเวลาที่แขนยืดหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ซึ่งในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อ ๆ ไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัด ๆ ไปในแทร็คที่ อยู่ติด ๆ กันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ ฮาร์ดดิสก์จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของฮาร์ดดิสก์เสมอ ปกติ แล้วมักมีการเรียกรุ่นของฮาร์ดดิสก์ตามระดับความเร็ว Seek time ของตัว ฮาร์ดดิสก์เอง เช่นมีการเรียกฮาร์ดดิสก์ ที่มี Seek time 14 ms ว่า “ฮาร์ดดิสก์ 14 ms” ซึ่งก็แสดงให้ทราบว่า ฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้น ๆ มีความเร็วของ Seek time ที่ 14 ms อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการใช้ค่าความเร็ว Seek time กำหนดระดับชั้นของฮาร์ดดิสก์จะสะดวก แต่ค่า Seek time ก็ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมด ของฮาร์ดดิสก์ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัวไดร์ฟเท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential) ดังนั้น ให้ใช้ค่า seek time เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในการตัดสิน ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์เท่านั้น
Head Switch Time
เป็นเวลาสลับการทำงาของหัวอ่านเขียน แขนยึดหัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ ที่อยู่ในแนวตรงกัน อย่างไรก็ตามหัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวเท่านั้นที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลา ในการสลับกันทำงาน ของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยหน่วย ms
Cylinder Switch Time
เวลาในการสลับไซลินเดอร์ สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียน จะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือไซลินเดอร์ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง ไซลินเดอร์จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจากไซลินเดอร์หนึ่งไปยัง ไซลินเดอร์อื่น ๆ เวลาในการสลับไซลินเดอร์จะวัดด้วยหน่วย ms
Rotational Latency
เป็นช่วงเวลาในการอคอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายใน การหมุนภายในฮาร์ดดิสก์จะเกิดขึ้นเมื่อหัวอ่าน เขียนวางตำแหน่ง อยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสมระบบการทำงาน ของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัด ด้วยหน่วย ms เช่นเดียวกัน แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที) ด้วยเช่นกัน
ฮาร์ดดิสก์ และมาตราฐานของการเชื่อมต่อ แบบต่าง ๆ
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยจะเป็นแผ่นดิสก์และหัวอ่านที่บอบบางมาก และไม่ค่อยจะทนต่อการกระทบ กระเทือนได้ ดังนั้น จึงควรที่จะระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เวลาจัดถือไม่ควรให้กระแทกหรือกระเทือน และระมัดระวังไม่ให้มือโดน อุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่บนแผงวงจร โดยปกติ ฮาร์ดดิสก์ มักจะบรรจุอยู่ในช่องที่เตรียมไว้เฉพาะภายในเครื่อง โดยจะมีการต่อสาย สัญญาณเข้ากับตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ และสายไฟเลี้ยงที่มาจากแหล่งจ่ายไฟด้วยเสมอ ในที่นี้ จะขอแนะนำให้รู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ แบบต่าง ๆ ในเบื้องต้น พอเป็นพื้นฐานในการทำความรู้จักและเลือกซื้อมาใช้งานกัน
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
Hard Disk คือ อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น Hard Disk จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ เนื่องจาก Hard Disk เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี Hard Disk ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ Hard Disk จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก Hard Disk |
ส่วนประกอบของ Hard Disk |
1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm ) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วยVoice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor 2 . หัวอ่าน ( Head ) เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์ จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น 3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters ) มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง2 ด้าน 4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter ) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น 5. เคส ( Case ) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง |
ชนิดของ Hard Disk แบ่งตามการเชื่อมต่อ (Interface)
|
1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่504 MB
รูปแสดง Slot IDE บนแผงวงจร Mainboard
2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
Hard Disk แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า504 MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์/ วินาที
วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk แบบ E-IDE แบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ PIO และ DMA
โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจากHard Disk เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง Hard Disk การทำงานในโหมดนี้จะเน้นการทำงานกับซีพียู ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk บ่อยครั้งหรือการทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่าMultitasking environment
โหมด DMA (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น
3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
Hard Disk แบบ SCSI เป็น Hard Disk ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ เรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ แบบ SCSIมีความเร็วสูงสุด 320 เมกะไบต์/วินาที กำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์ปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE ดังนั้น Hard Disk แบบ SCSI จะนำมาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น
รูปแสดง อุปกรณ์ Hard Disk ที่เป็น SCSI
4. แบบ Serial ATA
เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่มีความเร็วเพียง 133 เมกะไบต์/วินาทีส่วนเทคโนโลยีเชื่อมต่อรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA ให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์/วินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อย่าง CD-RW หรือDVD อีกด้วย
รูปแสดง สายสัญญาณแบบ Serial ATA
ด้วยการพัฒนาของ Serial ATA ทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัวHard Disk ลงได้ ในอนาคต Serial ATA ยังแตกต่างจาก Hard Drive ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนาน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ Hard Drive ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดโดยตรง สามารถลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไป อีกทั้ง Hard Disk ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก
ปัญหาของฮาร์ดดิสก์
เมื่อเพิ่มฮาร์ดดิสเข้าไปเป็นสองตัวแล้วเครื่องบูตไม่ขึ้น
สาเหตุที่ 1 ไม่ได้เซ็ตจัมเปอร์ (Jumper) ให้เป็นสเลฟ (Slave) วิธีแก้ สายต่อไอดีอี (IDE) หนึ่งเส้นจะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว โดยเราจะต้องให้ตัว หนึ่งเป็นมาสเตอร์ (Master) และให้อีกตัวหนึ่งเป็นสเลฟ (Slave) ปกติใน เครื่องของเรามีฮาร์ดดิสก์อยู่แล้วหนึ่งตัว โดยทั่วไปจะเซ็ทค่าเป็นมาสเตอร์ ดังนั้นถ้า เรานำฮาร์ดดิสก์ตัวที่สองเข้ามาเสียบเพิ่มในสายไอดีอีเส้นเดียว เราจะต้องตั้งฮาร์ดดิสก์ ตัวที่สองให้เป็นสเลฟเพื่อไม่ให้ซ้ำกับตัวแรก สาเหตุที่ 2 ไม่ได้เซ็ทค่าชนิดของฮาร์ดดิสก์ในไบออสให้ถูกต้อง วิธีแก้ ไบออสที่ถูกตั้งค่าชนิดของฮาร์ดดิสก์ที่ต่อกับสายไอดีอี (IDE) ไว้ตั้งแต่ครั้งแรกแบบ ถาวร เมื่อมีการเพิ่มฮาร์ดดิสก์เข้าไป เครื่องจะไม่รู้จัก ถ้าเราไม่ได้ตั้งค่าไว้ที่ ออโต้ (Auto) วิธีแก้ ให้เข้าเซ็ทค่าของไบออสใหม่ให้ถูกต้องหรือเลือก Auto Detect Harddisk ให้ค้นหาเครื่องอัตโนมัติ สาเหตุที่ 3 ต่อสายต่าง ๆ ไม่เรียบร้อย วิธีแก้ ให้ลองตรวจเช็คว่าต่อสายบัสที่เมนบอร์ดและตัวฮาร์ดดิสก์ถูกต้องและแน่นดีหรือไม่ สายไฟเลี้ยงได้ต่อเข้าแล้วหรือยัง เครื่องไม่สามารถเข้าระบบปฏิบัติการได้ สาเหตุที่ 1 ไม่ได้เซ็ท Active พาร์ทิชั่นหรือเซ็ท Active พาร์ทิชั่นเป็นคนละพาร์ติชั่นกับที่ลงปฏิบัติการ วิธีแก้ บู๊ตเครื่องโดยใช้แผ่นสตาร์ทอัพดิสก์ที่มีโปรแกรมเอฟดิสก์ (Fdisk) แล้วใช้โปรแกรม
ก็จะทำให้ระบบปฏิบัติการไม่สามารถมองเห็นข้อมูลในไดร์ฟนั้นได้ ทางแก้เราต้อง Copy ข้อมูลที่เราต้องการไว้ที่อีกพาร์ทิชั่นที่ใช้ได้หรือลบพาร์ติชั่นทิ้งแล้วสร้างใหม่
สาเหตุที่ 3 Harddisk Controller บนเมนบอร์ดเสีย วิธีแก้: ส่งเมนบอร์ดซ่อม หรือได้เวลาเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่แล้วครับ ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ไม่ได้
ฮาร์ดดิสก์มีขนาดมากกว่า 2 GB แต่มองเห็นแค่ 2 GB
สาเหตุที่ 1 โปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการเป็นรุ่นเก่า
วิธีแก้ ถ้าหากว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณมีเนื้อที่เหลือ ที่ยังไม่ได้แบ่งพาร์ทิชั่นมากกว่า 2 GB และ ไม่สามารถแบ่งพาร์ทิชั่นเป็นแบบ FAT16 อยู่ ให้คุณเปลี่ยนมาใช้โปรแกรมหรือระบบ ปฏิบัติการที่รองรับ FAT32 แทนแล้วแบ่งพาร์ทิชั่นเป็นแบบ FAT32
สาเหตุที่ 2 BIOS ไม่รู้จกฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่
วิธีแก้ ให้ทำการ Flash BIOS ใหม่ ถ้าไม่สามารถ Flash BIOS อาจจะต้องเก็บเงินซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ หรือซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่
เครื่องคอมพ์มองเห็นฮาร์ดดิสก์บ้าง บางครั้งก็มองไม่เห็น
สาเหตุ สายไฟที่เข้าไปเลี้ยงฮาร์ดดิสก์หลวม
วิธีแก้ สายไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์อาจหลวมบางขั้วต่อ ถึงแม้วาเราจะเสียบแน่นก็ตาม อาจลองแก้โดยการนำคีมบีบหน้าสัมผัสของสายจ่ายไฟเลี้ยงให้แคบเข้า เพื่อให้ทุกขั้วสัมผัสดี
สาเหตุที่ 2 เซ็ทค่าใน BIOS ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ ให้เข้าไปแก้ BIOS ในหัวข้อ IDE ให้เป็น UDMAMode หรือ ATA 133
สาเหตุที่ 3 เซ็ท Jumper ที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ ฮาร์ดดิสก์บางรุ่นเราสามารถตั้งค่าได้ว่าจะใช้ความเร็วเท่าใด โดยดูที่ฉลากที่ติดมาบนตัวฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะมีรูปภาพอธิบายวิธีการเซ็ทตำแหน่งของ Jumper
สาเหตุที่ 4 ใช้สาย BUS ผิดชนิด
วิธีแก้ ต้องใช้สาย BUS สำหรับ ATA 133 โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นชนิด 80 เส้น
ขึ้นข้อความ Error Message ว่า"Primary Master Haddisk Fail"
สาเหตุที่ 1 ฮาร์ดดิสก์เสีย
วิธีแก้ ถ้าอยู่ในช่วงประกันสามารถเอาไปเคลมเพื่อแลกตัวใหม่ได้ แต่ถ้าพ้นช่วงประกันไปแล้วก็คงต้องซื้อใหม่เพราะอาการนี้ซ่อมยาก สาเหตุที่ 2 เราทำการถอดฮาร์ดดิสก์ออกไปแล้วไม่ได้ใส่กลับในช่องเดิม ในขณะที่เราไปเซ็ตค่าไบออสให้จำค่าของฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าไว้ แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข วิธีแก้ ให้เข้าไปเซ็ตค่าไบออสใตรงกับฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่หรือเข้าไปสลับตำแหน่งฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้องเหมือนเดิม
ปัญหา :ข้อความแสดงการผิดพลาดเกี่ยวกับดิสก์ที่ไม่สามารถบูตได้
สาเหตุ : คอมพิวเตอร์พยายามเริ่มระบบจากดิสเก็ตต์ที่ไม่มีซอฟต์แวร์ สำหรับเริ่มระบบ การแก้ปัญหา : นำแผ่นดิสเก็ตต์ออกจากไดรฟ์เมื่อไฟแสดงสถานะบนไดรฟ์ดับ แลว้ทำต่อๆ ไปโดยการกดคีย์ใด ๆ บนแป้นพิมพ์
การทำงานของฮาร์ดไดรฟ์ช้าลง
สาเหตุ : ไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ อาจอยู่กระจัดกระจาย
การแก้ปัญหา : ตรวจสอบส่วนของข้อมูลที่หายไปโดยการรันโปรแกรม Disk Defragmenter เพื่อที่จะรันโปรแกรม Disk Defragmenter จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ ให้ คลิกที่ปุ่ม Start แล้วชี้ไปที่ Programs จากนั้นชี้ไปที่ Accessories และชี้ไปที่ System Tools ท้ายสุดให้คลิกที่ Disk Defragmenter
ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดไดรฟ์สว่างแต่ไม่กระพริบ
สาเหตุ : ไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ของคุณ อาจจะเสียหาย
การแก้ปัญหา : ตรวจสอบส่วนของข้อมูลที่หายไปโดยการรันโปรแกรม Disk Defragmenter และเพื่อ ที่จะรันโปรแกรม Disk Defragmenter6 จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ ให้คลิกที่ปุ่ม Start แล้วชี้ไปที่ Programs จากนั้นชี้ไปที่ Accessories และชี้ไปที่ System Tools ท้ายสุดให้คลิกที่ Disk Defragmenter
วิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์
โดยปกติพื้นในฮาร์ดดิสก์ของเราถูกใช้ในการจัดเก็บไฟล์ไว้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( Windows) ไฟล์โปรแกรมทำงาน (เช่น โปรแกรม MS-Word MS-Exel) ไฟล์เกมส์ ไฟล์งาน (เช่น รูปภาพ ไฟล์เอกสาร Word หรือ Exel) ไฟล์เพลง mp3 ฯลฯ ซึ่งไฟล์เหล่านี้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบในฮาร์ดดิสของเรา ยิ่งเราติดตั้งโปรแกรมลงไปในคอมพิวเตอร์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งเสียพื้นในฮาร์ดดิสก์ไปเรื่อยๆ อันนี้ยังไม่นับไฟล์งาน ไฟล์รูปภาพและไฟล์เพลง ต่างๆ ที่ได้บอกไปแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสในเครื่องของเราได้ด้วยวิธีการ ดังนี้
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer 2. คลิกเมาส์ขวาที่ไดรฟ์ C: หรือ D: ( เป็นไดรฟ์ของฮาร์ดดิสที่ใช้เก็บข้อมูล ) แล้วคลิก ( ซ้าย ) ที่เมนู Propreties 3. สีน้ำเงินคือพื้นที่ที่ถูกใช้ไป ส่วนสีชมพูคือพื้นที่ที่ว่างอยู่ หลักการมีอยู่ว่า จำเป็นต้องเหลือพื้นที่สีชมพูไว้อย่างน้อย 10 % ของฮาร์ดดิสก์ ไม่งั้นเครื่องจะทำงานช้าลง ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องลบไฟล์หรือ โปรแกรมออกจากเครื่องไปบ้าง แต่ก่อนที่จะลบข้อมูลดังกล่าว ขอแนะนำให้ลบ “ ไฟล์ขยะ ” (Temp files) ออกไปก่อน และวิธีการดูแลฮาร์ดดิสก์ ขั้นต้น แนะนำตามวิธีดังต่อไปนี้
1. การสแกนไวรัส
- สแกนไวรัส ทุกครั้งก่อนเปิดใช้งาน Flash Drive - สแกน Drive ทุกๆ Drive อย่างน้อยอาทิตย์ละ1 ครั้ง - ในการเสียบ Flash Drive ทุกครั้ง ห้าม Double Click โดยเด็ดขาด เมื่อสแกนไวรัสแล้ว ให้คลิกขวาเลือก Open หรือ Explore 2. การลบไฟล์ขยะ (Temp files) Temp files เรียกได้ว่าเป็นไฟล์ ขยะที่เกิดจากการเปิดใช้งานมาก ไม่มีประโยชน์ใดๆทุกครั้งที่เปิดวินสโดวส์จะมีการสร้าง Temp files นามสกุล .tmp ขึ้นมาเรื่อยๆซึ่งวินโดวส์ก็ไม่ได้ใช้งานไฟล์ประเภทนี้อีก โดยปกติเมื่อเราใช้ windows ไปนานๆไฟล์ขยะต่างๆ หรือไฟล์ที่ระบบปฏิบัติการโหลดไว้เพื่อใช้งานชั่วคราว ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรจะมีการเคลียร์ Temp files เพื่อลดปริมาณขยะ ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ค่ะ ว่าแล้วก็มาลบไฟล์ขยะกันเลยดีกว่า เราเรียกวิธีการลบไฟล์ขยะนี้ว่า “Disk Cleanup” บางทีการทำ Disk Cleanup อาจทำให้เราได้พื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสคืนกลับมา โดยที่ไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานเลยก็ได้ ขั้นตอนการทำ Disk Cleanup มีดังนี้
1. คลิกที่เมนู Start แล้วไปที่เมนู Program / Accessories / System Tools / คลิกที่เมนู Disk Cleanup
2. คลิกเลือกไดรฟ์ C: จากนั้นคลิกปุ่ม OK 3. ถึงตรงนี้ให้รอสักครู่ค่ะ ( ใครที่ไม่ได้ทำ Disk Cleanup มาก่อน อาจต้องรอนานหน่อยนะ ) 4. ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการลบให้คลิกปุ่ม OK 5. คลิกปุ่ม Yes เพื่อยืนยัน 6. แสดงสถานะการลบไฟล์ขยะให้รอสักครู่จนกว่าหน้าต่างนี้จะหายไป
หลังจากเสร็จสิ้นทั้ง 6 ขั้นตอนนี้แล้ว ให้ลองกลับไปตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสดูอีกครั้งตามที่ได้แนะนำไว้เมื่อตอนต้นของบทความ เชื่อว่าน่าจะได้พื้นที่ว่างกลับมาอีกพอสมควรพื้นที่ว่างที่ได้กลับมาอาจทำให้บางคนไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานในเครื่อง โดยเฉพาะกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางท่านที่ไม่เคยทำ Disk Cleanup มาก่อน ก็จะได้พื้นที่ว่างกลับมาเยอะจนเราคาดไม่ถึงทีเดียว
*** หรือจะทำตามคำแนะนำการจัดการกับไฟล์ขยะ ในเมนู ไฟล์ขยะในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วก็ได้ค่ะ
3. การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows XP
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Scan Disk เลือก Properties 2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Check Now… 3. คลิกเครื่องหมายถูกที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors แล้วคลิก Start 4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Scan Disk 5. เมื่อเครื่องทำการ Scan Disk เสร็จก็จะรายงานได้ทราบ ให้คลิก OKหมายเหตุ
หมายเหตุ ขณะที่ทำการ Scan Disk ไม่ควรเปิดโปรแกรมใด ๆ
Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น
4. การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ สำหรับ Windows XP
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Defragment เลือก Properties 2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Defragment Now... 3. คลิกที่ Defragment 4. จากนั้นให้รอ เครื่องจะทำการ Defragment ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน 5. เมื่อเครื่อง Defragment เสร็จเครื่องจะแจ้งให้ทราบถ้าต้องการดูรายละเอียดต่าง ๆ ของการ Defragment ให้คลิกที่ View Report ถ้าไม่ต้องการก็ให้คลิกที่ Close |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น