วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 6 การ์ดแสดงผล

สาระการเรียนรู้


  1. บทนำ
  2. ชนิดของการ์ดแสดงผล
  3. หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลกับความละเอียดของการแสดงผล
  4. การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
  5. จอภาพ
  6. ชนิดของจอภาพ
  7. สัดส่วนของจอภาพ
  8. ขนาดของจุด
  9. การพิจารณาเลือกซื้อจอภาพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง


  1. สามารถของชนิดของการ์ดแสดงผลได้
  2. สามารถอธิบายหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลกับความละเอียดของการ์ดแสดงผล
  3. สามารถเลือกซื้อการแสดงผลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. สามารถเลือกจอภาพมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พื้นฐานความรู้ที่ควรมี


  1. อธิบายความหมายของการ์ดแสดงผลได้
  2. อธิบายถึงการ์ดแสดงผลได้
  3. สามารถบอกถึงวิธีการเลือกซื้อการ์ดจอ และจอภาพได้
การ์ดแสดงผล


การ์ดแสดงผล  เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ทำหน้าทีในการประมวลผลสัญญาณของภาพเพื่อส่งต่อไปยังมอนิเตอร์  เพื่อแสดงภาพ  สำหรับการ์ดแสดงผลนี้เป็นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ต้องการภาพที่สมจริงรวมไปถึงคนที่ต้องการเล่นเกมส์  และคนที่ชอบตัดต่อ VDO ส่วนใหญ่แล้ว  ก็จะติดตั้งมาพร้อมเมนบอร์ด  แต่คนที่ต้องการจะมีการ์ดแสดงผลแยกตางหากก็สามารถ  เลือกที่ไม่มีติดตั้งก็ได้
ประเภทของ การ์ดแสดงผล
1.AGP(Accelerated Graphics Port)
เป็นพอร์ตรุ่นเดิมในปัจจุบันได้ล้าสมัยไปเพราะมีความเร็วที่ต่ำ
ลักษณะของ การ์ดแสดงผล แบบ AGV

2.PCI Express
เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อใหม่ล่าสุด  ซึ่งมีความเร็วมากกว่า AGP
ลักษณะของ การ์ดแสดงผล แบบ PCI Express


1. รู้จักการ์ดแสดงผล 
 การ์ดแสดงผล (Graphic Card, Display Card หรือ VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณทางดิจิตอลให้เปลี่ยนเป็น
 สัญญาณภาพที่แสดงผลผ่านจอคอมพิวเตอร์ ชนิดของการ์ดแสดงผลจะเป็นตัวกำหนดความเร็วในการแสดงผล ความละเอียดและความคมชัด
 ของกราฟฟิก รวมทั้งจำนวนสีที่สามารถแสดงผลด้วย
   การ์ดแสดงผลจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่ไม่ซับซ้อนมากนักโดยส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนการ์ดจะมีข้อความอธิบาย ไว้ด้วย ซึ่งจะสนับสนุนช่องต่อแบบใดบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของการ์ดรุ่นนั้นๆด้วยสำหรับส่วนประกอบต่างๆ
ที่สำคัญก็คือชิปกราฟฟิกแรมบนตัวการ์ดพอร์ตเชื่อมต่อสายสัญญาณกับจอภาพ และอินเทอร์เฟสของการ์ด
รูปที่ 5.1 การ์ดแสดงผล
                 นอกจากนั้นการ์ดบางรุ่นยังมีช่องต่อต่าง ๆ ต่อไปนี้เพิ่มด้วย
                         ช่อง DVI สำหรับต่อกับจอภาพ LCD
                         ช่อง Video – in สำหรับรับไฟล์วิดีโอจากกล้องวิดีโอ
                         ช่อง Video-out สำหรับแสดง/นำไฟล์วิดีโอออกไปยังอุปกรณ์ภายนอก
                         ช่อง TV-out สำหรับต่อเข้ากับทีวี (เป็นการ์ดแบบ TV-Tunner )
รูปที่ 5.2 ช่องต่อต่าง ๆ ของการ์ดแสดงผล
                คอมพิวเตอร์รุ่นประหยัดในปัจจุบัน มักจะมีชิปสำหรับแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด หรือเรียกว่า Video on Board อยู่แล้ว ซึ่งส่วนเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่ออกมาทางด้านหลังของเมนบอร์ดก็จะมีเพียงพอร์ต VGA สำหรับต่อเข้ากับสายสัญญาณจากจอภาพเท่านั้น
2. ชิปแสดงผลจากค่ายอื่น ๆ
                นอกจากชิปแสดงผลยอดนิยมจากค่าย nVidia และ ATi แล้วยังมีผู้ผลิต จากค่ายอื่น ด้วย ซึ่งก็มุ่งเน้นตลาดในระดับที่แตกต่างกันไป
   ดังนี้

 3. คุณสมบัติอื่น ๆ ของการ์ดแสดงผล
              
นอกจากการพิจารณาตัวชิปบนการ์ดแล้ว ในการเลือกการ์ดแสดงผลมาใช้งานยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบ
 กันด้วย  เพื่อให้ได้การ์ดที่มีประสิทธิภาพตรงกับงานที่ทำอยู่ด้วย เช่น มาตรฐาน การเชื่อมต่อ ชนิดและขนาดของแรมบนการ์ด เป็นต้น
             3.1 มาตรฐานการเชื่อมต่อ  การแสดงผลในปัจจุบันใช้ระบบบัสเชื่อมต่อแบบ AGP ( Accelerated Graphic Port )
  ซึ่งมาแทนการเชื่อมต่อแบบ PCI โดยมาตรฐาน AGP นี้ทำให้ได้ความเร็วด้านการแสดงผลเพิ่มขึ้น เริ่มต้นที่ความถี่ 66 MHz
 (ในระบบบัส PCI ทำงานที่ความถี่33 MHz )  และความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 266 MB/s โดยปัจจุบัน พัฒนาไปถึงมาตรฐาน AGP 8x
 ที่มีความเร็วในการทำงานถึง 2 GB/s เลยทีเดียว

1) มาตรฐาน AGP 4x เป็นมาตรฐานที่มีใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน โดยรับ/ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วเป็น 2 เท่า
  ของ AGP 2x  โดยใช้ความกว้างบัส 32 บิต สามารถส่งข้อมูลได้ 4ครั้งใน 1 สัญญาณความถี่ ดังนั้นความถี่ในการส่งข้อมูลจะเท่ากับ
 266 MHz นั่นคือความเร็ว ในการรับส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 266 MHz x 4 Bytes = 1064 MB/s หรือ 1 GB/s
                       2) มาตรฐาน AGP 8x AGP 8x เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อใหม่ที่สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงสุด 2 GB/s
  ปัจจุบันเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ สนับสนุนมาตรฐานนี้กันบ้างแล้ว โดยการ์ดหลาย ๆ รุ่น เช่น ของ WinFast ที่ใช้ชิปกราฟฟิก
 GeForce FX 5800 หรือการ์ดของ Gigabyte ที่ใช้ชิปกราฟฟิก ATi Radeon 9000 Pro ก็รองรับมาตรฐาน AGP 8x ด้วย
               3.2 หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล  การทำงานของการ์ดแสดงผลนั้น มีอยู่ 2 โหมด คือใหมด Text และโหมด
  Gaphic ซึ่งปัจจุบัน ในการทำงานบน Windows นั้นเป็นการแสดงผลในแบบโหมด Graphicซึ่งหน่วยความจำบนการ์ดจะคอยรับข้อมูล
 ที่มาจากซีพียูถ้าหน่วยความจำ มากก็จะรับข้อมูลจากซีพียูมากช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้น
                 การพิจารณาหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลนั้น สิ่งที่ควรดูมากที่สุดก็คือเรื่องของประเภทแรม
   และขนาดแรม   แรมที่ใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันมีตั่งแต่ 32-128 MB ซึ่งขนาดของแรมที่มากก็จะช่วยให้คุณภาพ
 การ์ดแสดงผลของการ์ดสูงขึ้นตามไปด้วย  สำหรับชนิดของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันนั้นมีดังนี้  
                       1) แรมชนิด SDRAM เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้เป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง มีอัตราการส่งข้อมูล
  โดยประมาณ 528 MB  ยังคงมีการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบัน รองจากแรมชนิด DDR SDRAM ที่มักเป็นมาตรฐานของ
  การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ
                        2) แรมชนิด DDR SDRAM เป็นแรมที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลมากที่สุด
 ในปัจจุบัน  เพราะสามารถทำงานได้เร็วกว่าแรมชนิด SDRAM ถึง 2เท่าที่ความถี่เดียวกัน
                       3) แรมชนิด DDR2 เป็นแรมที่ถูกพัฒนาเพื่อทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ และจะนำไปใช้
                เป็นแรมปกติที่ทำงานร่วมกับซีพียูด้วย DDR2 จะเข้ามาช่วยลดปัญหาคอขวดในการรับส่งข้อมูล ระหว่างชิปกราฟฟิก
  ไปยังหน่วย ความจำบัฟเฟอร์ ทำให้สามารถแสดงผลได้รวดเร็วขึ้น รองรับการทำงานที่ความเร็วมากถึง 1 GHz 

Monitor จอภาพ

Monitor




จอภาพ Monitor เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel

ลักษณะภายนอกของจอภาพก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล
ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอภาพ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
  1. จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor) 
    จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว
  2. จอภาพหลายสี (Color Monitor) 
    จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี
  3. จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display) 
    จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ เป็นแบ่งได้เป็น
    1. Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
    2. Passive matrix color จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic
        การทำงานของจอภาพ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพ ซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
        ปัจจุบันกระแสจอแบน ได้เข้ามาแซงจอธรรมดา โดยเฉพาะประเด็นขนาดรูปทรง ที่โดดเด่น ประหยัดพื้นที่ในการวาง รวมทั้งจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน โดยจอภาพขนาด 15 - 17 นิ้ว ใช้พลังงานเพียง 20 - 30 วัตต์ และจะลดลงเหลือ 5 วัตต์ในโหมด Standby ในขณะที่จอธรรมดา ใช้พลังงานถึง 80 - 100 วัตต์
ขนาดและสัดส่วนของจอภาพ

ควรเลือกขนาดของจอภาพให้เหมาะกับขนาดของสถานที่และจำนวนของผู้ชม ในการบอกขนาดของจอภาพมีอยู่สองวิธีคือการบอกขนาดด้วยความกว้างและความยาวเช่นจอ 50 นิ้วคูณ 50 นิ้วหมายถึงกว้างห้าสิบนิ้วและยาวห้าสิบนิ้ว และอีกแบบหนึ่งคือการบอกเป็นตัวเลขวัดความยาวตามแนวทะแยงมุมเช่นจอภาพ 100 นิ้วหรือ 120 นิ้ว อันนี้จะเป็นการวัดจากมุมบนด้านใดด้านหนึ่งไปหามุมล่างด้านตรงข้าม

จอภาพนั้นนอกจากจะมีขนาดใหญ่เล็กต่างกันแล้วยังมีสัดส่วนที่ต่างกันด้วย จะเห็นได้ว่าบางรุ่นจะมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสบางรุ่นก็มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สัดส่วนของจอภาพจะระบุเป็นตัวเลขได้ดังนี้ 1:1 , 4:3 , 16:9
การเลือกก็ต้องตัดสินใจจากการใช้งานอีกเช่นเคยเช่นในการนำเสนองานก็ควรใช้จอภาพที่มีสัดส่วน 1:1 หรือ 4:3 หรือในการชมภาพยนตร์ก็ควรใช้จอภาพที่มีสัดส่วน 16:9 เพื่อให้พอดีกับขนาดภาพที่ใช้ในโรงภาพยนตร์
วิธีการพิจารณาในการเลือกซื้อจอ

  


จอธรรมดาหรือจอกระจก
เรื่อง ของหน้าจอแสดงผล ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่หลายคนนำมาใช้ในการเลือกซื้อ จอ LED ด้วยเช่น กัน ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกทั้งแบบจอแบบเคลือบเงา หรือที่เรียกว่า “จอกระจก” จอแบบดังกล่าวนี้ มีคุณสมบัติ ที่ดีในการชมภาพยนตร์ และเล่นเกม เนื่องจากให้สีสันที่สดใส และแสงที่สว่าง จึงมักได้รับความนิยมหมู่คน ที่ชอบความบันเทิงเป็นหลัก แต่ราคาก็ต้องสูงขึ้นไปด้วยอย่างแน่นอน ส่วนอีกแบบหนึ่ง เป็นจอธรรมดา คุณสมบัติที่ดีอยู่ที่การให้ความคมชัดที่สูงไม่เน้นที่ความสว่างมากนัก จึงเหมาะกับผู้ที่ใช้ งานอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ยังไม่มีการสะท้อนรบกวนของแสงเช่นเดียวกับจอกระจก อีกทั้งจอแบบดังกล่าวยังมีราคาที่ไม่สูงอีกด้วย ทั้งสองแบบนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ส่วนการจะเลือกแบบใดนั้นให้ดูที่ความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวัน เป็นหลัก

1. รูปลักษณ์ และความสวยงาม
หลายครั้งที่เรามักจะให้ความรู้สึกในเรื่องรูปลักษณ์เหนือกว่าประสิทธิภาพที่จะได้ รับ เช่นเดียวกับจอแอลอีดีก็เช่นกัน ที่ผู้ใช้มักจะเอาความสวยงามมาเป็นตัวเปรียบเทียบ แต่ก็ไม่ได้เป็น เรื่องที่ผิดเสียทีเดียว เพราะเรื่องของดีไซน์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ต้องสัมผัส และพบเจอในการใช้งานอยู่ทุกวัน หากไม่สวยโดนใจ หรือไม่เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านมันก็คงดูขัดตา
นอกจากนี้ เรื่องของการออกแบบก็ยังรวมไปถึงฟังก์ชัน สำหรับการใช้งานต่าง ๆ เช่นผู้ที่นำไปใช้ใน การพรีเซนเทชั่นอาจเลือกเป็นจอที่ปรับมุมมองซ้าย - ขวา หรือก้มเงยได้สะดวก หรือบางคนอาจต้องการ ขนาดที่บางเพื่อที่จะจัดวาง หรือเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งบางครั้งด้านขอบจอที่บางก็ทำให้ หลายคนชอบเช่นกัน ในกรณีที่ใช้จอสองตัวในการเล่นเกม หรือทำงานกราฟิก ซึ่งถ้าเป็นรูปแบบเหล่านี้ ก็นำมาใช้ในการพิจารณาได้ดี

2. ความละเอียด (Resolution)
คงเคยเห็นบ่อย ๆ สำหรับ Resolution ที่มักจะต่อท้ายรายละเอียดของรุ่นต่าง ๆ ของจอแอลอีดี จะได้รู้กันละครับว่าปกติแล้ว Resolution ของจอแอลซีดีปกติแล้วมีความละเอียดเท่าไหร่ ความละเอียดส่วน ใหญ่ถูกกำหนดด้วยขนาดของจออยู่แล้ว เช่น จอขนาดเล็ก 15 นิ้ว ก็จะให้ความละเอียดที่ 1024x768 แต่ถ้า เป็น 18.5 นิ้ว จะอยู่ที่ 1600x900 และ 21.5 นิ้วขึ้นไป 1920x1080 ซึ่งการจะเลือกใช้ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมชมภาพยนตร์ งานเอกสาร ตัดต่อ กราฟิกก็ล้นแต่มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป

3. Response Time สำคัญเพียงใด
เป็นอัตราความเร็วในการตอบสนองของเม็ดสี ในการเปลี่ยนสีจากดำมาเป็นขาวแล้วกลับเป็นดำ (B/W) หรือบางครั้งอาจเป็นจากสีเทามาเป็นเทา (G/G) โดยการบอกเวลาเป็นวินาทีซึ่งตัวเลขยิ่งน้อย ก็จะ ส่งผลให้การแสดงภาพมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากตัวเลขมากหรือช้า อาจเกิดอาการที่เรียกว่า ภาพซ้อน หรือ Ghost เกิดขึ้น จนทำให้การเล่นเกมหรือการชมภาพยนตร์เสียอรรถรสไป ดังนั้นการเลือกซื้อปัจจุบัน ควรจะอยู่ที่ 2-8 ms

4. Contrast Ratio
ค่า Contrast Ratio เป็นค่าที่นำมาใช้ในการวัดอัตราส่วนของความสว่าง และความมืด ว่ามีมากน้อย เพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อความคมชัด สมจริงที่เกิดขึ้นในภาวะแสงต่าง ๆ การเลือกให้ดูตัวเลขที่สูงเป็นหลัก โดยปัจจุบันมีให้เลือกตั้งแต่ 12,000,000 : 1ไปจนถึงบางค่ายมีให้เลือกถึง 100,000,000 : 1 ซึ่งก็แล้ว แต่การวัดว่าเป็นแบบ Dynamic หรือ Mega

5. พอร์ต D-Sub DVI, HDMI
ในส่วนของพอร์ตแสดงผล หากเป็นไปได้ควรเลือกจอที่มีพอร์ตแบบ DVI มาให้หรือมี 2 แบบคือ ทั้ง D-Sub และ DVI เนื่องจากปัจจุบัน แม้ว่าการแสดงผลจะยังมีพอร์ต D-Sub ให้ใช้อยู่ก็ตาม แต่แนวโน้มในไม่ช้า กราฟิกการ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมานั้น จะมีแต่พอร์ตที่เป็น DVI เป็นส่วนใหญ่ครับ ซึ่งการ์ดหลายรุ่นจะเป็น แบบ Dual DVI อีกด้วยจึงไม่จำเป็นต้องหาตัวแปลงสัญญาณมาใช้ นอกจากนี้ DVI ยังให้สัญญาณที่นิ่งกว่า เนื่องจากไม่ต้องแปลงจากดิจิตอลเป็นอะนาล็อกไปมาอีกด้วย HDMI จะมีสัญญาณทั้งภาพและเสียงออกมาพร้อมกัน HDMI จะเสถียรกว่า DVI

6. วิธีการเช็ค Dead Pixels และการรับประกัน Dead Pixels คือ จุดสีดำ Bright คือ จุดสี
การตรวจสอบ Dead หรือ Dot Pixel ก็ไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ทางร้านจะมีการทดสอบให้ อยู่แล้ว ถ้าไม่มีโปรแกรมสำหรับการตรวจสอบโดยตรง อาจใช้วิธีเบื้องต้นในการทดสอบง่าย ๆ โดยเปลี่ยน สีหน้าจอเดสก์ทอปให้เป็นสีขาว เหลือง แดง น้ำเงิน และดำ ทีละสีแล้วกวาดสายตาไปให้ทั่ว ๆ จนแน่ใจว่า ไม่มีจุดสีที่แปลกเด่นขึ้นมาทำไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบร้อน หลังจากนั้นให้ปรับค่า Default ของหน้าจอให้เป็น แบบมาตรฐาน ดูว่ามีสิ่งใดผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ขอบของจอผิดเพี้ยน ความสว่างไม่เท่ากันหรืออื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมี 4 จุดขึ้นไปถึงจะเปลี่ยนให้ ยกเว้นบางแบรนด์ 1 จุด จะเปลี่ยนให้ เงื่อนไขให้สอบถามทางร้านที่ซื้ออีกทีนึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น