วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 8 อุปกรณ์ต่อพ่วง

สาระการเรียนรู้

  1. บทนำ
  2. กล้องดิจิตอล
  3. หน่วยความจำของกล้องดิจิตอล
  4. หน่วยความจำสำหรับใช้กับกล้องดิจิตอล
  5. แฟลชไดร์ฟ
  6. ประโยชน์ของแฟลชไดร์ฟ
  7. ปริ้นเตอร์
  8. สแกนเนอร์
  9. การทำงานของสแกนเนอร์
  10. ภาพจากสแกนเนอร์
  11. แดง เขียว น้ำเงิน RGB
  12. ชนิดของสแกนเนอร์
  13. ปัจจัยในการตเลือกซื้อสแกนเนอร์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  1. สามารถบอกถึงหน่วยความจำชนิดต่างๆ ได้
  2. สามารถบอกถึงประโยชน์ของแฟลชไดร์ฟได้
  3. สามารถบอกถึงชนิดของปริ้นเตอร์ได้
  4. สามารถบอกถึงชนิดของสแกนเนอร์ได้
พื้นฐานความรู้ที่ควรมี
  1. อธิบายความหมายขิงการทำงานของกล้องดิจิตอลได้
  2. อธิบายถึงชนิดของกล้องดิจิตอลได้
  3. สามารถบอกถึงขั้นตอนการทำงานของปริ้นเตอร์และสแกนเนอร์ได้


กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล (Digital Camera)


กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล นับเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน เนื่องจากมีขนาดเล็ก กะทัดรัด พกพาได้สะดวก โอนถ่ายเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้ทันที เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตได้รวดเร็ว โดยอุปกรณ์ตัวเล็กชิ้นนี้จะทำงานด้วยตัวสร้างประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า CCD (Charge Coupled Device) ภายในตัวกล้อง ผ่านการกระตุ้นด้วยแสงที่ผ่านเข้ามาทางเลนส์ และส่งผลให้เกิดภาพบนสื่อบันทึกภายในกล้อง เช่น Memory Stick, Memory Cardประโยชน์ของกล้องถ่ายภาพแบบดิจิตอล
  • รวดเร็ว เพราะเมื่อถ่ายรูปแล้ว ก็สามารถนำมาใช้งานได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก เป็นไฟล์ภาพบนแผ่นดิสก์ หรือการถ่ายโอน เข้าคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ทต่างๆ
  • ใช้งานง่าย เพราะมีการทำงานแบบอัตโนมัติ
  • ไม่เปลืองฟิล์ม เพราะอาศัยอุปกรณ์บันทึกที่สามารถลบข้อมูล และนำมาใช้งานใหม่ได้
การประยุกต์ใช้งาน
  • งานด้านสิ่งพิมพ์
  • งานโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต ภาพประกอบเว็บเพจ
  • งานบุคลากรในองค์กรต่างๆ
  • งานด้านประกันภัย
รูปแบบการบันทึกข้อมูล
  • หน่วยความจำภายใน
  • แผ่นการ์ดบันทึกข้อมูลเฉพาะ เช่น SSFDC (Solid State Floppy Disk Card) ของกล้องตระกูลฟูจิ
  • ฮาร์ดดิสก์แบบ PCMCIA type III
  • แผ่นดิสก์
สำหรับท่านที่สนใจอุปกรณ์ไฮเทคชิ้นนี้ และอยากได้เป็นเจ้าของ มีหลักพิจารณาดังนี้
  • ดูงบในกระเป๋า - ก่อนซื้อก็คงต้องดูงบประมาณในกระเป๋าก่อน ปัจจุบันราคาอุปกรณ์นี้อยู่ในช่วง 5,000 - 50,000 บาท เพราะฉะนั้นจากงบประมาณที่ท่านมี ก็คงจะช่วยให้พิจารณาได้ง่าย
  • จุดประสงค์ในการใช้งาน - สำหรับท่านที่มีงบพอประมาณ ก็คงมาดูที่จุดประสงค์ในการใช้งาน สำหรับท่านที่นำมาใช้กับงานพัฒนาเว็บไซต์ เลือกได้ง่ายมากเลย เพราะเลือกได้ทุกรุ่น แล้วแต่กำลังทรัพย์ เนื่องจากกล้องตัวนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนงานเว็บเป็นหลัก แต่ถ้าท่านต้องการใช้เพื่อบันทึกภาพแทนกล้องจริง หรือใช้เก็บภาพสำหรับใช้ในงานสิ่งพิมพ์ ก็คงต้องเตรียมงบให้สูงขึ้นสักนิด เพื่อเลือกกล้องที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด เท่าที่กำลังทรัพย์จะเอื้ออำนวย
  • ความละเอียดของภาพ - ความละเอียดของภาพ เป็นคุณสมบัติชนิดหนึ่งที่ทำให้ราคากล้องนี้แตกต่างกันออกไป อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วภาพสำหรับงานเว็บต้องการความละเอียดเพียง 72 จุดต่อนิ้ว แต่ถ้าท่านต้องการใช้ภาพถ่ายกับงานสิ่งพิมพ์ ก็ควรดูกล้องฯ ที่รอบรับได้มากกว่า 150 จุดต่อนิ้ว (ประมาณ 2 ล้านพิกเซลขึ้นไป)
  • คุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ - กล้องแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ มีคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากมีงบประมาณที่เพียงพอ ลองพิจารณาองค์ประกอบนี้ด้วย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของท่านมากที่สุด
หลักการถ่ายภาพ ไม่ยากเลยครับ เหมือนๆ กับการถ่ายด้วยกล้องธรรมดาทั่วไป แถมอาจจะง่ายและสะดวกกว่าด้วยซ้ำ เพราะมีฟังก์ชันควบคุมการถ่ายภาพ ทั้งภาพขาวดำ ภาพสี ภาพ Sepia โหมดการซูม ทั้งนี้หลักการใช้งานแม้จะต่างรุ่น ต่างยี่ห้อ แต่ก็ไม่สร้างปัญหามากนัก สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพมีดังนี้
  • โดยมากกล้องดิจิตอล จะมีจอภาพ LCD สำหรับแสดงผลภาพทั้งขณะถ่าย หลังถ่าย ซึ่งการทำงานส่วนนี้จะทำให้แบตเตอรรี่ถูกใช้งานมาก ดังนั้นหากมีช่องเลนส์มองถ่ายภาพ ควรปิดจอภาพ LCD แล้วใช้ช่องมองภาพในการถ่ายภาพแทน
  • ไม่ควรถ่ายภาพในสถานที่ที่มีแสงจ้ามาก
  • ใช้แฟลซให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ภาพที่สว่างคมชัด
  • ไม่ถ่ายภาพสะท้อน หรือผ่านกระจก
  • เมื่อได้ภาพที่ต้องการ สามารถโอนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้สะดวก
หน่วยความจำสำหรับกล้องดิจิตอล
SmartMedia Card (SMC), , , , ข้อมูลทั่วไปของ SmartMedia CardSmartMedia Card เป็น Memory Card ที่คิดค้นมาตรฐานขึ้นมาโดย บริษัท โตชิบา  และถูกนำเสนอแก่สาธารณะชนอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1995  โดยในสมัยนั้นได้ผลิตออกมาเพื่อแข่งขันกับ MiniCard หรือ Miniature Card, CompactFlash Card และ PC Card (PCMCIA Card) โดยตรง  ชื่อเริ่มแรกของ SmartMedia Card นั้นใช้ชื่อว่า SSFDC (Solid State Floppy Disk) ซึ่งราวกับว่าเป็นเทคโนโลยีที่สืบทอดมาจาก Floppy Disk ก็ว่าได้  โดยในปัจจุบัน SmartMedia Card นั้นได้ยกเลิกสายการผลิตไปแล้ว  เนื่องจากการใช้งานไม่แพร่หลายและมีเทคโนโลยีการ์ดหน่วยความจำแบบใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ส่วนประกอบหลักของ SmartMedia Card นั้นประกอบไปด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ NAND แบบเดี่ยว และชิป EEPROM (Electrically-Erasable Programmable Read-Only Memory) ที่บรรจุรวมไว้ในการ์ดพลาสติกที่บางเพียงแค่ 0.76 มิลลิเมตร และมีความกว้างยาวเพียงแค่ 45x37 มิลลิเมตร  ซึ่งถือว่าเป็นการ์ดหน่วยความจำที่มีความเล็กและบางมากที่สุดในสมัยนั้น  และมีการพยายามลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้มีราคาที่ไม่แพง  เช่นการตัดส่วนของคอนโทรลเลอร์ภายในออกไป เป็นต้น  SmartMedia Card ถึงแม้ว่าจะมีความบางมากกว่า CompactFlash Card หรือการ์ดชนิดอื่นๆ ในสมัยนั้น แต่ทว่ามันก็มีจุดด้อยอยู่ในตัวของมันเอง นั่นคือ SmartMedia Card จะไม่มีส่วนควบคุมการทำงานของการ์ดหรือตัวคอนโทรลเลอร์  จึงสามารถที่จะใช้งานบันทึกข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว  โดยส่วนควบคุมการทำงานนั้นจะเป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ที่นำ SmartMedia Card ไปใช้งาน  และอุปกรณ์รุ่นเก่าๆ บางอย่าง  อาจจะต้องมีการอัพเดตเฟิร์มแวร์เพื่อให้สามารถรองรับความจุที่มากขึ้นได้SmartMedia Card ถูกนำไปใช้งานมากที่สุดกับกล้องดิจิตอล  และได้รับความนิยมถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ.2001 เมื่อสามารถเข้าครองตลาดการ์ดหน่วยความจำสำหรับกล้องดิจิตอลได้มากถึง 50% ของตลาดรวม  ข้อมูลเชิงเทคนิคของ SmartMedia Card- ขนาด 45 x 37 x 0.76 มิลลิเมตร (1.77 x 1.45 x 0.003 นิ้ว)- น้ำหนัก 1.8 กรัม- ขนาดความจุสูงสุด 128 MB (มีตั้งแต่ขนาด 2, 4, 8, 16, 32, 64 และ 128 MB)- ใช้ Flash Memory Chip แบบ NAND-type 16-Mbit, 32-Mbit และ 64-Mbit- ขั้วต่อแบบ 22 ขา- I/O Interface แบบ 8-bit และ 16-bit- อัตรา Media Transfer สูงสุด 3.5 MB ต่อวินาที- อัตรา Interface Transfer สูงสุด 8 MB ต่อวินาที- เวลาในการค้นหาข้อมูลโดยเฉลี่ย 10.8 ms- อุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ 0 ถึง 60 องศาเซลเซียส- จำนวนรอบในการอ่าน-เขียนข้อมูล สูงสุด 1,000,000 รอบ- ค่า MTBF (Mean Time Between Failures : ค่าเวลาโดยประมาณในกรณีที่ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน) 250,000 ชั่วโมง- สามารถบันทึกข้อมูลไว้ได้นาน 10 ปี โดยไม่ต้องอาศัยพลังงาน- ค่า Shock Resistance 1000 G (เท่ากับการปล่อยลงสู่พื้นจากระดับความสูง 5 ฟุต)- ค่า Vibration Resistance 15 G- อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน (อ่าน 56 mA, เขียน 14 mA)- สามารถนำไปใส่ในช่องแบบ PCMCIA ด้วยตัว PCMCIA Adapter หรือ PC Card Adapter- สามารถรองรับการใช้งานกับการ์ดหน่วยความจำแบบ CompactFlash โดยการต่อกับ Adapter- สามารถรองรับการใช้งานกับ Floppy Drive ขนาด 3.5 นิ้ว โดยการต่อกับ FlashPath Adapter
xD Card (xD-Picture Card), , , , ข้อมูลทั่วไปของ xD CardxD Card นั้นมีชื่อเต็มว่า xD-Picture Card โดย xD นั้นย่อมาจากคำว่า Extreme Digital  ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย บริษัท Olympus และ Fujifilm  ซึ่งถูกนำเปิดตัวสู่ตลาดเมื่อ เดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.2002  และดำเนินการผลิตโดย บริษัท Toshiba  ยี่ห้อของ xD Card นั้นนอกจาก Olympus และ Fujifilm แล้ว ก็ยังมียี่ห้อ Kodak, SanDisk และ LexarxD Card นั้นผลิตออกมาเพื่อเน้นนำไปใช้กับกล้องดิจิตอลยี่ห้อ Olympus, Fujifilm และ Kodak  โดยขนาดความจุของ xD Card นั้นก็มีตั้งแต่ 16, 32, 64, 128, 256, 512MB และ 1GB  ซึ่งถ้าหากเป็นขนาดความจุ 16 และ 32MB จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 5Mbps และความเร็วในการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 1.8Mbps  ส่วน xD Card ที่มีขนาดความจุ 64, 128, 256 และ 512MB จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 5Mbps และความเร็วในการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 3Mbps  สุดท้ายหากเป็น xD Card ที่มีขนาดความจุ 1GB ก็จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 4Mbps และความเร็วในการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 2.5Mbpsในปี 2005 ได้มี xD Card ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่ผลิตออกมาคือ xD Card Type M  ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมแบบ MLC (Multi Level Cell) ทำให้มีขนาดความจุของข้อมูลเพิ่มขึ้นได้มากกว่าขีดจำกัดเดิม (512MB)  ข้อมูลเชิงเทคนิคของ xD Card- ขนาด 20 x 25 x 1.78 มิลลิเมตร- น้ำหนัก 2 กรัม- มีขนาดความจุตั้งแต่ 16, 32, 64, 128, 256, 512MB และ 1GB (Type M)- มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลอยู่ที่ 5Mbps และ 1.3Mbps ตามลำดับ (สำหรับขนาดความจุ 16 และ 32MB)- มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลอยู่ที่ 5Mbps และ 3Mbps ตามลำดับ (สำหรับขนาดความจุ 64, 128, 256 และ 512MB)- มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลอยู่ที่ 4Mbps และ 2.5Mbps ตามลำดับ (สำหรับขนาดความจุ 1 GB)- ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ MLC (Multi Level Cell) จึงทำให้ทางทฤษฎีสามารถขยายขนาดความจุได้มากสูงสุดถึง 8 GB (จากเดิมที่มีขนาดสูงสุดได้เพียง 512MB)- มีพื้นฐานของเทคโนโลยีการผลิตแบบ NAND-type Flash- มีการรักษาความปลอดภัยด้วย ID Protection Function- อุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ 0 ถึง 55 องศาเซลเซียส- อุณหภูมิที่สามารถบันทึกข้อมูลไว้ได้ -20 ถึง 65 องศาเซลเซียส- ใช้แรงดันไฟขนาด 3.3 โวลต์- ป้องกันความชื้นได้ 95%- มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานต่ำเพียง 25mW
CompactFlash Card (CF Card), , , , ข้อมูลทั่วไปของ CompactFlash CardCompactFlash Card หรือ CF Card ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นครั้งแรกโดย บริษัท SanDisk ในปี ค.ศ.1994  ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 แบบหลักคือ Type I และ Type II  โดย Type I จะมีความหนาน้อยกว่า Type II เล็กน้อย  และอีกไม่นานก็จะมี Type III ผลิตออกมาด้วย  สำหรับความเร็วในการทำงานนั้น ก็มีตั้งแต่ความเร็วมาตรฐานเริ่มแรก, ความเร็วแบบ High Speed (CF+ หรือ CF2.0) และความเร็วตามมาตรฐาน CF3.0 ซึ่งถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ.2005  และสำหรับสล็อตแบบ CF Type II นั้นสามารถนำหน่วยความจำแบบ Microdrive หรืออุปกรณ์อื่นๆ บางอย่างมาใส่ได้ด้วยCompactFlash Card นั้นเป็นการ์ดหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่ถูกผลิตใช้งานมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของหน่วยความจำประเภท Flash Memory  จึงถือว่าเป็นการ์ดหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่มมีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุด  และก็ยังถือว่าเป็นการ์ดหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอีกด้วย  ซึ่งในช่วงแรกนั้น CompactFlash ถูกผลิตด้วยพื้นฐานแบบ Intel's NOR-based แม้ว่าในขั้นตอนสุดท้ายจะมีการสลับเปลี่ยนมาใช้พื้นฐานแบบ NAND ก็ตามCompactFlash Card นั้นมักจะถูกนำมาใช้กับกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพมากเป็นพิเศษ  และมีจุดเด่นในเรื่องของราคาที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับขนาดความจุที่ได้มา และเมื่อเทียบกับการ์ดหน่วยความจำประเภทอื่นๆ ในเรื่องของอายุการใช้งาน  และโดยทั่วไป CompactFlash Card นั้นจะเน้นในเรื่องของขนาดความจุมากกว่าขนาดรูปร่างของตัวมันเอง  นอกจากนั้น CompactFlash Card ยังสามารถนำมาใช้งานได้โดยตรงกับสล็อตของ PC Card หรือ PCMCIA Card ด้วยตัว Adapter  ข้อมูลเชิงเทคนิคของ CompactFlash Card- ขนาด 36.4 x 42.8 x 3.3 มิลลิเมตร (1.43 x 1.68 x 0.13 นิ้ว : Type I)- ขนาด 36.4 x 42.8 x 5 มิลลิเมตร (Type II)- น้ำหนัก 11.4 กรัม- ระดับแรงดันไฟ 3.3โวลต์ และ 5โวลต์- อุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ 0 ถึง 70 องศาเซลเซียส (32 ถึง 158 องศาฟาเรนไฮต์)- จำนวนรอบของการถอดเข้าถอดออก 10,000 รอบ- เทคโนโลยี Defect Management และ Error Correction ในตัว- ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล 6Mbyte ต่อวินาที- ATA Interface ในตัว- รองรับมาตรฐาน PCMCIA-ATA- สล็อตแบบ CompactFlash Type II สามารถรองรับการใช้งานกับ MicroDrive ได้ (Hard Disk ขนาดเล็ก)- โหมดการทำงานแบบ Autosleep Mode ช่วยประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่- สามารถเก็บบันทึกข้อมูลไว้ได้นาน 10 ปี
MMC Card (MultiMediaCard), , , , ข้อมูลทั่วไปของ MMC CardMMC Card หรือ MultiMediaCard  นั้นถูกนำเสนอสู่สาธารณะชนครั้งแรกในปี ค.ศ.1997  โดย บริษัท Siemens AG และ SanDisk  ซึ่งมีพื้นฐานการทำงานอยู่บน NAND-based Flash Memory  ซึ่ง MMC Card นั้นมีขนาดที่เล็กว่าการ์ดหน่วยความจำที่มีพื้นฐานการทำงานอยู่บน Intel NOR-based เช่น CompactFlash Card  ขนาดของ MMC Card นั้นค่อนข้างใกล้เคียงกับสแตมป์ไปรษณีย์  โดยมีความยาว 32 มิลลิเมตร, กว้าง 24 มิลลิเมตร และหนา 1.4 มิลลิเมตร  ในยุคแรก MMC Card นั้นใช้ Interface ในการโอนถ่ายข้อมูลแบบ 1-bit Serial  แต่ต่อมาในเวอร์ชันใหม่  จะสามารถโอนถ่ายข้อมูลได้ 4 bits หรือ 8 bits ในเวลาเดียวกันMMC Card นั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะถูกแทนที่ด้วยการ์ดหน่วยความจำแบบ SD Card ในไม่ช้า  แต่ที่ยังคงมีการใช้งาน MMC Card กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ก็เนื่องจาก MMC Card นั้นสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่รองรับ SD Card ได้ด้วย  โดยอุปกรณ์ที่นำ MMC Card ไปใช้งานนั้นก็มักจะเป็นอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, เครื่องพีดีเอ, เครื่องเล่นเพลง MP3 หรือกล้องดิจิตอล  ซึ่งในปัจจุบันขนาดความจุสูงสุดของ MMC Card ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปแล้วนั้นจะอยู่ที่ 2GBจากที่กล่าวไว้ข้างต้นคือ  อุปกรณ์ใดที่มีสล็อตของ SD Card ก็มักจะสามารถนำ MMC Card มาใส่ได้โดยปริยาย  เนื่องจากความกว้างและยาวของ MMC Card  นั้นเท่ากันกับ SD Card  รวมถึงมีขาขั้วต่อ (Pins) รูปแบบเดียวกัน  เพียงแต่ MMC Card จะมีความหนาที่น้อยกว่า SD Card อยู่เล็กน้อย  ข้อมูลเชิงเทคนิคของ MMC Card- ขนาด 24 x 32 x 1.4 มิลลิเมตร- น้ำหนัก 1.5 กรัม- ขั้วต่อ (Pins) แบบ 7-Pins (MMC) และ 13-Pins (MMCplus)- ระดับแรงดันไฟ 3.3โวลต์- อุณหภฺมิที่สามารถทำงานได้ -25 ถึง 85 องศาเซลเซียส (-13 ถึง 185 องศาฟาเรนไฮต์)- อุณหภูมิที่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ -40 ถึง 85 องศาเซลเซียส- ค่า Shock Resistance 1000 G (เท่ากับการปล่อยลงสู่พื้นจากระดับความสูง 5 ฟุต)- จำนวนรอบของการถอดเข้าถอดออก 10,000 รอบ- อัตราความเร็วในการอ่านข้อมูลสูงสุด 11MB ต่อวินาที (MMCplus)- อัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลสูงสุด 7MB ต่อวินาที (MMCplus)- Bandwidth ในการโอนถ่ายข้อมูล (Transfer Bandwidth : Bus Widths) 1 bit, 4 bits และ 8 bits (MMCplus)- จำนวนรอบในการลบข้อมูล 100,000 รอบ ต่อ 1 Block- ในปัจจุบันมีขนาดความจุให้เลือกใช้ตั้งแต่ 32, 64, 128, 256, 512MB, 1GB และ 2GB


, , , ,

RS-MMC Card (Reduced Size MultiMediaCard)ข้อมูลทั่วไปของ RS-MMC CardRS-MMC Card นั้นเป็นการ์ดหน่วยความจำที่พัฒนาขึ้นมาด้วยพื้นฐานของ MMC Card และมีคุณสมบัติโดยรวมที่ไม่แตกต่างกัน  เพียงแต่มีขนาดที่เล็กลงประมาณครึ่งหนึ่งของ MMC Card ในทางยาว  นั่นคือมีความยาวลดลงเหลือ 16 มิลลิเมตร  ในขณะที่ MMC Card มีความยาว 32 มิลลิเมตร  แต่ก็ยังมีความกว้างขนาด 24 มิลลิเมตร  และความหนาขนาด 1.4 มิลลิเมตร เท่าเดิม  ซึ่ง RS-MMC Card นั้นนำมาใช้กับ โทรศัพท์มือถือ โนเกีย 7610 เป็นรุ่นแรก  ราคาจำหน่ายในช่วงแรกนั้นค่อนข้างสูงกว่า MMC Card มาก  แต่ในปัจจุบันราคาของการ์ดหน่วยความจำทั้งสองแบบนี้ใกล้เคียงกันแล้ว  เนื่องจาก RS-MMC Card มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น  โทรศัพท์มือถือ หลายรุ่นหลายยี่ห้อต่างก็หันมาใช้ RS-MMC Card แทนที่จะเลือกใช้ MMC Card  และในอนาคตคาดว่าจะเข้ามาแทนที่ MMC Card ในที่สุดในการใช้งานนั้น  ปกติ RS-MMC Card สามารถนำไปใช้แทน MMC Card ได้ทันที  เนื่องจากปกติเมื่อซื้อ RS-MMC Card มา  ก็มักจะมีตัวแปลงให้มีขนาดเท่ากับ MMC Card (MMC Adapter) มาให้ด้วย  ดังนั้นอุปกรณ์ใดที่รองรับ MMC Card ก็จะสามารถนำ RS-MMC Card มาใช้งานได้ด้วยโดยปริยาย  ส่วน RS-MMC Card รุ่นใหม่ที่เรียกว่า MMCmobile นั้นสังเกตได้ไม่ยาก  โดยให้สังเกตที่ขาขั้วต่อจะมีอยู่ 13-Pins ในขณะที่ RS-MMC Card จะมีเพียง 7-Pins  ซึ่ง MMCmobile จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมดังที่กล่าวไว้ในส่วนของ MMC Card ข้างต้นข้อมูลเชิงเทคนิคของ RS-MMC Card- ขนาด 24 x 16 x 1.4 มิลลิเมตร- น้ำหนัก 1.0 กรัม- ขั้วต่อ (Pins) แบบ 7-Pins (RS-MMC) หรือ 13-Pins (MMCmobile)- ระดับแรงดันไฟ 3.3โวลต์ (RS-MMC) หรือ 1.8/3.3โวลต์ (MMCmobile)- อุณหภฺมิที่สามารถทำงานได้ -25 ถึง 85 องศาเซลเซียส (-13 ถึง 185 องศาฟาเรนไฮต์)- อุณหภูมิที่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ -40 ถึง 85 องศาเซลเซียส- ค่า Shock Resistance 1000 G (เท่ากับการปล่อยลงสู่พื้นจากระดับความสูง 5 ฟุต)- จำนวนรอบของการถอดเข้าถอดออก 10,000 รอบ- อัตราความเร็วในการอ่านข้อมูลสูงสุด 1.75MB ต่อวินาที (RS-MMC) หรือ 8MB ต่อวินาที (MMCmobile)- อัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลสูงสุด 1.65MB ต่อวินาที (RS-MMC) หรือ 7MB ต่อวินาที (MMCmobile)- Bandwidth ในการโอนถ่ายข้อมูล (Transfer Bandwidth : Bus Widths) 1 bit, 4 bits และ 8 bits (MMCmobile)- จำนวนรอบในการลบข้อมูล 100,000 รอบ ต่อ 1 Block- ในปัจจุบันมีขนาดความจุให้เลือกใช้ตั้งแต่ 32, 64, 128, 256, 512MB และ 1GB
DV RS-MMC Card (Dual Voltage Reduced Size MultiMediaCard), , , ,



ข้อมูลทั่วไปของ DV RS-MMC CardDV RS-MMC Card หรือ Dual Voltage Reduced Size MultiMediaCard นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาจากพื้นฐานของการ์ดหน่วยความจำแบบ RS-MMC Card  และมีขนาดเท่ากันทุกประการ  โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อที่จะให้ตัวการ์ดสามารถใช้แรงดันไฟได้ 2 ระดับ  คือ 1.8โวลต์ และ 3.3โวลต์  จึงทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้มากขึ้นกว่าเดิม  โดย โทรศัพท์มือถือ รุ่นแรกที่นำ DV RS-MMC Card มาใช้ก็คือ โนเกีย 6630  และต่อมาหลังจากนั้น โทรศัพท์มือถือ ตระกูล Symbian Smart Phone Series 60 UI ของ โนเกีย อีกหลายรุ่น  ก็มีการพัฒนาให้รองรับ DV RS-MMC Card  เช่น โนเกีย 6681, 6680, N70 หรือ N90 เป็นต้น  รวมถึงรุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวอีกหลายรุ่น  ซึ่งถ้าหาก โทรศัพท์มือถือ รุ่นใดที่ระบุว่าต้องใช้การ์ดหน่วยความจำแบบ DV RS-MMC Card ก็จะไม่สามารถนำ RS-MMC Card แบบธรรมดามาใช้ได้  เนื่องจาก โทรศัพท์มือถือ เหล่านี้มีแรงดันไฟสำหรับการ์ดหน่วยความจำเพียง 1.8โวลต์  เท่านั้น  ในขณะที่ RS-MMC Card ธรรมดาจะใช้แรงดันไฟมากถึง 3.3โวลต์ในช่วงแรกของการวางจำหน่ายนั้น DV RS-MMC Card ยังมีราคาที่สูงกว่า MMC Card หรือ RS-MMC Card อยู่อย่างมาก  นั่นคือแพงกว่าเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว  แต่เมื่อเริ่มมีการใช้งานแพร่หลาย  และมี โทรศัพท์มือถือ รุ่นใหม่ๆ ออกมารองรับมากขึ้น  จนถึงปัจจุบัน DV RS-MMC Card นั้นก็ลดระดับราคาลงมาจนแทบจะไม่แตกต่างกับ RS-MMC Card แล้ว  ส่วนการ์ดหน่วยความจำแบบ MMCmobile ซึ่งเป็น RS-MMC Card แบบใหม่นั้น  ก็ถือได้ว่าเป็นการ์ดหน่วยความจำแบบ DV RS-MMC Card ด้วยเช่นกัน  เนื่องจากสามารถใช้แรงดันไฟได้ 2 ระดับ คือ 1.8โวลต์ และ 3.3โวลต์  ได้เหมือนกันกับ DV RS-MMC Card นั่นเอง  สุดท้ายแล้วจึงอาจจะสรุปได้ว่า MMCmobile เป็นการ์ดหน่วยความจำที่จะเข้ามาแทนที่ทั้ง RS-MMC Card และ DV RS-MMC Card ทั้งคู่ไปโดยปริยายข้อมูลเชิงเทคนิคของ DV RS-MMC Card- ขนาด 24 x 16 x 1.4 มิลลิเมตร- น้ำหนัก 1.0 กรัม- ขั้วต่อ (Pins) แบบ 7-Pins หรือ 13-Pins (MMCmobile)- รองรับการใช้งานกับแรงดันไฟ 2 ระดับ คือ1.8โวลต์ และ 3.3โวลต์- อุณหภฺมิที่สามารถทำงานได้ -25 ถึง 85 องศาเซลเซียส (-13 ถึง 185 องศาฟาเรนไฮต์)- อุณหภูมิที่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ -40 ถึง 85 องศาเซลเซียส- ค่า Shock Resistance 1000 G (เท่ากับการปล่อยลงสู่พื้นจากระดับความสูง 5 ฟุต)- จำนวนรอบของการถอดเข้าถอดออก 10,000 รอบ- อัตราความเร็วในการอ่านข้อมูลสูงสุด 1.75MB ต่อวินาที หรือ 8MB ต่อวินาที (MMCmobile)- อัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลสูงสุด 1.65MB ต่อวินาที หรือ 7MB ต่อวินาที (MMCmobile)- Bandwidth ในการโอนถ่ายข้อมูล (Transfer Bandwidth : Bus Widths) 1 bit, 4 bits และ 8 bits (MMCmobile)- จำนวนรอบในการลบข้อมูล 100,000 รอบ ต่อ 1 Block- ในปัจจุบันมีขนาดความจุให้เลือกใช้ตั้งแต่ 128, 256 และ 512MB


, , , ,


MMCmicro Card (Micro MultiMediaCard)ข้อ


มูลทั่วไปของ MMCmicro CardMMCmicro Card  เป็นพัฒนาการอีกขั้นของ MMC Card และ RS-MMC Card  ซึ่งพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลง และใช้พลังงานน้อยลง  โดย MMCmicro นั้นมีขนาดที่เล็กพอๆ กับปลายนิ้วมือเลยทีเดียว  นั่นคือ  มีความยาว 14 มิลลิเมตร, กว้าง 12 มิลลิเมตร  และหนาเพียง 1.1 มิลลิเมตรเท่านั้น  หรือมีขนาดเพียง 1 ใน 4 ของ MMC Card  หรือมีขนาดเพียง 1 ใน 3 ของ RS-MMC Card เท่านั้น  และ MMCmicro Card นี้ก็ยังมีคุณสมบัติการทำงานแบบ Dual Voltage ได้อีกด้วย  นั่นคือสามารถทำงานได้ที่แรงดันไฟ 2 ระดับ  ที่ 1.8โวลต์ และ 3.3โวลต์  ในการพัฒนาและทดสอบการใช้งานโดย บริษัท Samsung ซึ่งเป็นผู้คิดค้น MMCmicro ก็ได้ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ  มีความน่าเชื่อถือสูงในเรื่องประสิทธิภาพการใช้งานในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งมาตรฐานที่ Samsung นำมาใช้ในการพัฒนา MMCmicro นี้นั้น  ก็คือมาตรฐาน MMCA หรือ MultiMediaCard Associationความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลของ MMCmicro นั้นอยู่ที่ 10Mbyte ต่อวินาที  และความเร็วสูงสุดในการเขียนข้อมูลอยู่ที่ 7Mbyte ต่อวินาที  นอกจากนั้นในเรื่องของความทนทานในการใช้งานก็อยู่ในระดับที่สูงด้วยเช่นกัน  โดยมีการทดสอบลบข้อมูลและเขียนซ้ำอย่างน้อย 100,000 รอบ  และยังมีคุณสมบัติของการกันน้ำ  กันฝุ่น  กันไฟกระชาก  ทำงานได้ในสภาวะของอุณหภูมิที่ต่างกัน  หรือในสภาวะใดๆ ที่อุปกรณ์พกพานั้นๆ ต้องเผชิญนั่นเอง  MMCmicro นั้นถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อเอาไว้ใช้งานกับ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์พกพาขนาดเล็กชนิดอื่นๆ ที่นับวันยิ่งต้องการขนาดที่กะทัดรัดมากขึ้น  และสำหรับในปัจจุบันนั้นเริ่มมีการพัฒนา MMCmicro ออกมาจำหน่ายแล้วแต่ยังไม่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากนัก  โดยมีขนาดความจุตั้งแต่ 32, 64, 128, 256 และ 512MBการนำ MMCmicro ไปใช้งานนั้น  ก็สามารถนำไปใช้ได้กับอุปกรณ์ใดๆ ที่มีสล็อตสำหรับ SD, MMC หรือ RS-MMC Card ได้อย่างไม่มีปัญหา  โดยอาศัยตัว Adapter ในการแปลงขนาด  ดังนั้น โทรศัพท์มือถือ, เครื่องเล่นเพลง, กล้องดิจิตอล, เครื่องพีดีเอ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่รองรับ SD, MMC หรือ RS-MMC Card ก็สามารถนำ MMCmicro ไปใส่ใช้งานได้ทันทีข้อมูลเชิงเทคนิคของ MMCmicro Card- ขนาด 14 x 12 x 1.1 มิลลิเมตร- น้ำหนัก 0.8 กรัม- จำนวนขาขั้วต่อ (Pins) 10Pins- ใช้งานกับแรงดันไฟได้ 2 ระดับ คือ 1.7-1.95โวลต์ และ 2.7-3.6โวลต์- มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานที่น้อยกว่า 50mA- ความเร็วสูงสุดของสัญญาณนาฬิกา 26MHz- ความเร็วสูงสุดของการโอนถ่ายข้อมูล 12Mbyte ต่อวินาที- ความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูล 10Mbyte ต่อวินาที- ความเร็วสูงสุดในการเขียนข้อมูล 7Mbyte ต่อวินาที- ขนาดความจุในปัจจุบัน มีตั้งแต่ขนาด 32, 64, 128, 256 และ 512MB- มีคุณสมบัติการป้องกันน้ำ- มีคุณสมบัติการป้องกันฝุ่นละออง- มีคุณสมบัติการป้องกันกระแสไฟกระชาก (Electrostatic Discharge)- สามารถใช้งานได้ในสภาวะของอุณหภูมิผันผวน- ระดับอุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ -25 ถึง 85 องศาเซลเซียส- ระดับอุณหภูมิที่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ -40 ถึง 85 องศาเซลเซียส- รองรับการทำงานในความชื้น 8 ถึง 95%- ค่า Shock Resistance 1000 G (เท่ากับการปล่อยลงสู่พื้นจากระดับความสูง 5 ฟุต)- ค่า Vibration Resistance 15 G- ค่า MTBF (Mean Time Between Failures : ค่าเวลาโดยประมาณในกรณีที่ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน) 1,000,000 ชั่วโมง- สามารถถอดการ์ดเข้าและถอดออกได้ไม่น้อยกว่า 20,000 รอบ- สามารถ อ่าน, เขียน และลบข้อมูล ได้มากกว่า 100,000 รอบ- เก็บรักษาข้อมูลไว้ได้นาน 10 ปี


, , , ,



Memory Stickข้อมูลทั่วไปของ Memory StickMemory Stick


 เป็นการ์ดหน่วยความจำที่ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกใน เดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1998  โดย บริษัท Sony  ซึ่งเน้นสำหรับการนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ยี่ห้อ Sony  โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ต้องพึ่งพาการ์ดหน่วยความจำ เช่น กล้องดิจิตอล, โทรศัพท์มือถือ (Sony Ericsson), เครื่องเล่นเพลง หรืออื่นๆ  และ Memory Stick เป็นการ์ดหน่วยความจำที่ยังมีราคาสูงกว่าการ์ดหน่วยความจำชนิดอื่น  แต่ก็มีจุดเด่นคือมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่สูง  และในเวลาไม่นานนัก  ก็มีการพัฒนา Memory Stick แบบใหม่ขึ้นมาให้ใช้งานอีก  เช่น Memory Stick Pro ซึ่งสามารถรองรับขนาดความจุข้อมูลที่เพิ่มขึ้นและมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่สูงขึ้น  หรือ Memory Stick Duo ที่พัฒนาให้มีขนาดเล็กลง เป็นต้นMemory Stick นั้นถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์สมัยใหม่มากมายหลายประเภท  ไม่ว่าจะเป็น กล้องดิจิตอล, เครื่องเล่นเพลง, เครื่องพีดีโอ, โทรศัพท์มือถือ, เครื่องเล่นเกมส์ PlayStation รวมถึงเครื่องโน็ตบุ๊คราคาแพงจากค่าย Sony ที่ใช้ชื่อว่า VAIO ที่มีสล็อตสำหรับใส่ Memory Stick อยู่ในตัว  สำหรับขนาดความจุของ Memory Stick แบบธรรมดานั้นมีการผลิตออกมาสูงสุดเพียง 256MB (128MB x 2) เท่านั้น  แต่อย่างไรก็ตามหากเป็น Memory Stick แบบใหม่ๆ เช่น Memory Stick Pro ก็จะมีขนาดความจุที่มากขึ้น  ส่วนบริษัทที่ได้สิทธิ์ในการผลิต Memory Stick อย่างเป็นทางการนั้น  ก็ได้แก่ บริษัท SanDisk และ Lexarเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้กับ Memory Stick  นั่นก็คือเทคโนโลยี MagicGate  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันการก๊อปปี้ข้อมูล  ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย บริษัท Sony ในปี ค.ศ.1999  มีหลักการทำงานคือทำการเข้ารหัสข้อมูล (Encrypting) ของอุปกรณ์  และใช้ชิป MagicGate ทั้งในส่วนของตัวเก็บข้อมูล และตัวอ่านข้อมูล  เพื่อตัดสินใจควบคุมบังคับกระบวนการคัดลอกไฟล์หรือก๊อปปี้ไฟล์ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร  เทคโนโลยี MagicGate นั้นถูกนำมาใช้กับเครื่องเล่นเกมส์ PlayStation 2 ในปี ค.ศ.2004  และอุปกรณ์รุ่นใหม่ก็พัฒนาให้สามารถรองรับเทคโนโลยีนี้ได้มากขึ้นเรื่อยๆข้อมูลเชิงเทคนิคของ Memory Stick- ขนาด 50 x 21.5 x 2.8 มิลลิเมตร (1.97 x 0.85 x 0.11 นิ้ว)- น้ำหนัก 4 กรัม- ปริมาตร 3,010 ลูกบาศก์มิลลิเมตร- จำนวนขาขั้วต่อ (Pins) 10Pins- เทคโนโลยีการผลิตแบบ NAND Flash- ระดับแรงดันไฟที่ใช้ 2.7-3.6โวลต์- ระดับความสิ้นเปลืองของพลังงานขณะใช้งาน 45mA- ระดับความสิ้นเปลืองของพลังงานขณะอยู่ในสถานะ Standby 130ไมโครแอมแปร์- ความเร็วสูงสุดของสัญญาณนาฬิกา 20MHz- ความเร็วสูงสุดในการเขียนข้อมูล 1.8Mbyte ต่อวินาที (14.4Mbit ต่อวินาที)- ความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูล 2.5Mbyte ต่อวินาที (19.6Mbit ต่อวินาที)- ระดับอุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ -5 ถึง 65 องศาเซลเซียส- ระดับอุณหภูมิที่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ -40 ถึง 100 องศาเซลเซียส- ค่า Shock Resistance 150 G (ที่ 10ms)- ค่า Vibration Resistance 15 G- รองรับการทำงานในความชื้น 95%- ขนาดความจุ มีตั้งแต่ 16, 32, 64, 128 และ 256MB- เทคโนโลยี MagicGate  ช่วยป้องกันการคัดลอกข้อมูล- สวิตช์สำหรับการป้องกันการเขียนทับข้อมูล


, , , ,



Memory Stick PROข้อมูลทั่วไปของ Memory Stick PROMemory Stick PRO  นั้น

เป็นพัฒนาการที่สืบเนื่องต่อมาจาก Memory Stick  โดยมีการพัฒนา 2 เรื่องหลักคือ  การเพิ่มขีดความสามารถในการขยายขนาดความจุให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม  และพัฒนาให้มีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม  ซึ่ง Memory Stick PRO ตามทฤษฎี  สามารถขยายขนาดความจุสูงสุดได้มากถึง 32GB  แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันความจุสูงสุดที่มีอยู่  ยังอยู่ที่ 4GB เท่านั้น  ส่วนเรื่องของขนาดของการ์ดนั้น  ยังคงมีขนาดที่เท่ากันกับ Memory Stick ปกติทุกประการสำหรับ Memory Stick PRO ที่มีขนาดความจุตั้งแต่ 1GB ขึ้นไป  จะมีโหมดการทำงานที่เรียกว่า High Speed Mode  ซึ่งจะช่วยให้ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลเร็วยิ่งขึ้นไปอีก  แต่อุปกรณ์รุ่นเก่าๆ บางอย่าง  ก็ไม่สามารถใช้งาน High Speed Mode นี้ได้  นอกจากนั้นก็ยังมีเทคโนโลยี MagicGate ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันการคัดลอกข้อมูลใส่มาให้ด้วย  และหากเปรียบเทียบกันที่ขนาดความจุเดียวกัน  Memory Stick PRO นั้นก็ยังคงมีราคาที่แพงกว่าการ์ดหน่วยความจำประเภทอื่นๆ อยู่มากพอสมควร  ส่วนการนำ Memory Stick PRO ไปใช้งานนั้น  ผู้ใช้ควรจะต้องตรวจสอบก่อนว่า  อุปกรณ์ที่จะนำไปใช้ด้วยนั้น  สามารถรองรับการใช้งานกับ Memory Stick PRO ได้หรือไม่ข้อมูลเชิงเทคนิคของ Memory Stick PRO- ขนาด 50 x 21.5 x 2.8 มิลลิเมตร (1.97 x 0.85 x 0.11 นิ้ว)- น้ำหนัก 4 กรัม- ปริมาตร 3,010 ลูกบาศก์มิลลิเมตร- จำนวนขาขั้วต่อ (Pins) 10Pins- เทคโนโลยีการผลิตแบบ NAND Flash- ระดับแรงดันไฟที่ใช้ 2.7-3.6โวลต์- ระดับความสิ้นเปลืองของพลังงานขณะใช้งาน 45mA- ระดับความสิ้นเปลืองของพลังงานขณะอยู่ในสถานะ Standby 130ไมโครแอมแปร์- ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูล 20MByte ต่อวินาที (160Mbit ต่อวินาที)- ความเร็วสูงสุดในการเขียนข้อมูล 1.8Mbyte ต่อวินาที (14.4Mbit ต่อวินาที)- ความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูล 2.45Mbyte ต่อวินาที (19.6Mbit ต่อวินาที)- ระดับอุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ -5 ถึง 65 องศาเซลเซียส- ระดับอุณหภูมิที่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ -40 ถึง 100 องศาเซลเซียส- ค่า Shock Resistance 150 G (ที่ 10ms)- ค่า Vibration Resistance 15 G- รองรับการทำงานในความชื้น 95%- ขนาดความจุ มีตั้งแต่ 128, 256, 512MB และ 1, 2, 4GB- มีระบบการรักษาความปลอดภัยแบบ SDMI (Security Digital Music Initiative)- เทคโนโลยี MagicGate  ช่วยป้องกันการคัดลอกข้อมูล- สวิตช์สำหรับการป้องกันการเขียนทับข้อมูล



, , , ,

Memory Stick Duoข้อมูลทั่วไปของ Memory Stick DuoMemory Stick Duo เป็นการ์ดหน่วยความจำที่มีขนาดเล็กลงกว่า Memory Stick ปกติ  และมีขนาดที่เล็กกว่า SD Card เล็กน้อย  จุดประสงค์ที่ทาง บริษัท Sony พัฒนา Memory Stick Duo นี้ขึ้นมาก็เพราะต้องการการ์ดหน่วยความจำที่มีขนาดเล็กลงกว่า Memory Stick ปกติ  เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่นับวันจะยิ่งมีขนาดเล็กมากขึ้น  และ Memory Stick ปกติ  ดูจะมีขนาดที่ใหญ่เกินไปสำหรับอุปกรณ์เหล่านั้น  เช่น กล้องดิจิตอลขนาดพกพา หรือ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น  และยังรวมถึงเครื่องเล่นเกมส์พกพาของ Sony อย่างเครื่อง PSP (PlayStation Portable) อีกด้วยที่จำเป็นต้องใช้การ์ดหน่วยความจำชนิดนี้สำหรับคุณสมบัติหรือประสิทธิภาพโดยทั่วไปนั้น  ก็จะเหมือนกันกับ Memory Stick รุ่นปกติ  แทบทุกประการ  ยกเว้นเรื่องของรูปร่างที่เล็กกว่านั่นเอง  และถ้าหากจะนำ Memory Stick Duo ไปใส่ใช้งานในสล็อตของ Memory Stick ขนาดปกติ  ก็สามารถทำได้  โดยใช้ Memory Stick Duo Adapter  เพื่อแปลง Memory Stick Duo ให้มีขนาดเท่ากันกับ Memory Stick ปกติ  และสำหรับเทคโนโลยี MagicGate ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับป้องกันการคัดลอกข้อมูลนั้น  ก็มีใส่มาให้เช่นเดียวกันข้อมูลเชิงเทคนิคของ Memory Stick Duo- ขนาด 31 x 20 x 1.6 มิลลิเมตร (1.22 x 0.79 x 0.6 นิ้ว)- น้ำหนัก 2 กรัม (ไม่ใส่ Adapter)- น้ำหนัก 4 กรัม (ใส่ Adapter)- ปริมาตร 992 ลูกบาศก์มิลลิเมตร- จำนวนขาขั้วต่อ (Pins) 10Pins- เทคโนโลยีการผลิตแบบ NAND Flash- ระดับแรงดันไฟที่ใช้ 2.7-3.6โวลต์- ระดับความสิ้นเปลืองของพลังงานขณะใช้งาน 45mA- ระดับความสิ้นเปลืองของพลังงานขณะอยู่ในสถานะ Standby 130ไมโครแอมแปร์- ความเร็วสูงสุดของสัญญาณนาฬิกา 20MHz- ความเร็วสูงสุดในการเขียนข้อมูล 1.8Mbyte ต่อวินาที (14.4Mbit ต่อวินาที)- ความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูล 2.5Mbyte ต่อวินาที (19.6Mbit ต่อวินาที)- ระดับอุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ -5 ถึง 65 องศาเซลเซียส- ระดับอุณหภูมิที่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ -40 ถึง 100 องศาเซลเซียส- ค่า Shock Resistance 150 G (ที่ 10ms)- ค่า Vibration Resistance 15 G- รองรับการทำงานในความชื้น 95%- ขนาดความจุ มีตั้งแต่ 32, 64 และ 128MB- เทคโนโลยี MagicGate  ช่วยป้องกันการคัดลอกข้อมูล- สวิตช์สำหรับการป้องกันการเขียนทับข้อมูล



Flash Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive) 

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่ในขณะเดียวกันมีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 2 GB ถึง 16 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แฟลชไดร์ฟ, แฮนดี้ไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์นวัตกรรม IT ที่ในอนาคตทุกคนจะต้องมีและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เพราะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน และมีประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือ:

    •  ความจุข้อมูลสูง ตั้งแต่ 2 GB ถึง 16 GB
    •  ใช้เก็บข้อมูลได้ทุกประเภท ทั้งไฟล์ข้อมูล, เอกสาร, พรีเซ็นเตชั่นสไลด์, เพลง MP3, รูปภาพดิจิตอล, วีดีโอ, และอื่นๆ
    •  สามารถใช้ได้ทันทีกับคอมพิวเตอร์และโน็ตบุ๊ค ทุกเครื่องทุกระบบ
    •  สามารถใช้ได้กับ Windows, Linux, Apple iMac, Apple iBook
    •  สะดวกในการใช้งาน เพียงแค่เสียบ Flash Drive เข้าช่องต่อ USB
    •  ใช้งานง่าย คุณสามารถทำการเขียน/อ่าน/ลบ/แก้ไข ข้อมูลในนั้นได้โดยตรงเหมือนกับฮาร์ดดิสไดร์ฟปกติ
    •  มีความทนทานสูง ทั้งภายในและภายนอก
    •  เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สร้างจากเทคโนโลยีที่มีความทนทานสูงที่สุดในปัจจุบัน Solid-State Storage Technology
    •  เวลาใช้งาน ข้อมูลของคุณจะปลอดภัยไม่ว่าจะเกิดการตกหล่น กระแทก หรือขูดขีด
    •  มีขนาดเล็ก บาง เบา สามารถพกติดตัวได้สะดวก
    •  ใช้เล่นเพลง MP3 ได้ (เฉพาะรุ่นที่มี MP3 Player) 

เครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลากหลายชนิดขึ้นกับคุณภาพและความละเอียดของการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์ ขนาดกระดาษสูงสุดที่สามารถพิมพ์ได้ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการพิมพ์

เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้เป็นสองชนิด คือ

1. เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์สำเนา (Copy) ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่น ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นบรรทัดต่อวินาที (lpm-line per minute) ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ก็คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้จะไม่ดีนัก สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
•  เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

•  เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้รวดเร็ว แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน

2. เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer)ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนา (Copy) ได้ ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นหน้าต่อนาที (PPM-page per minute) และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ คือ

•  เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (Toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์แต่ละรุ่นจะแตกต่างกันในด้านความเร็วและความละเอียดของ งานพิมพ์ โดยปัจจุบันสามารถพิมพ์ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi) 
•  เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet Printer) ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากสามารถพิมพ์สีได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ตอก สามารถพิมพ์รูปได้คุณภาพใกล้เคียงกับภาพถ่าย และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกในปัจจุบันจะมีคุณภาพในการพิมพ์ต่างกันไปตาม เทคโนโลยีการฉีดหมึกและจำนวนสีที่ใช้ โดยรุ่นที่มีราคาต่ำมักใช้หมึกพิมพ์สามสี คือ น้ำเงิน ( cyan) , ม่วงแดง (magenta) และเหลือง (yellow) ซึ่งสามารถผสมสีออกมาเป็นสีต่าง ๆ ได้ แต่จะให้คุณภาพของสีดำที่ไม่ดีนัก จึงมีเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงกว่าที่เพิ่มสีที่ 4 เข้าไปคือ สีดำ (black) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึกในปัจจุบันโดย มากจะใช้สีนี้เป็นหลัก แต่จะมีเครื่องพิมพ์อีกระดับที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์สำหรับภาพถ่าย (Photo printer) ที่จะเพิ่มสีน้ำเงินอ่อน (light cyan) และม่วงแดงอ่อน (light magenta) เป็น 6 สีเพื่อเพิ่มความละเอียดในการไล่เฉดสีภาพถ่ายให้เหมือนจริงยิ่งขึ้น และบางรุ่นก็จะมีการเพิ่มสีที่ 7 คือสีดำจางเพื่อช่วยในการพิมพ์เฉดสีเทาเข้าไปอีก
•  เครื่องพิมพ์เทอร์มอล (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพในการพิมพ์สูงสุดจะมี 2 ประเภท คือ Thermal wax transfer ให้คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า ทำงานโดยการกลิ้งริบบอนที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ แล้วเพิ่มความร้อนให้กับริบบอนจนแวกซ์นั้นละลายและเกาะติดอยู่บนกระดาษ ส่วน Thermal dye transfer ใช้หลักการเดียวกับ thermal wax แต่ใช้สีย้อมแทน wax จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด โดยสามารถพิมพ์ภาพสีได้ใกล้เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก
สแกนเนอร์ (Scanner)
สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้
            - ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
            - บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
            - แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
            - เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ
             โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์, ชนิดของสแกนเนอร์ และความสามารถในการทำงานของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

ชนิดของเครื่องสแกนเนอร
             สแกนเนอร์สามารถจัดแบ่งตามลักษณะทั่วๆ ไป ได้ 2 ชนิด คือ
             Flatbed scanners, ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMaker III Transparency and slide scanners, ซึ่งถูกใช้สแกนโลหะโปร่ง เช่น ฟิล์มและ สไลด์
การทำงานของสแกนเนอร์
             การจับภาพของสแกนเนอร์ ทำโดยฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพ จะถูกจับโดยเซลล์ที่ไวต่อแสง   เรียกว่า charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกตินแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้ ที่มืดบนกระดาษจะสะท้อนแสงได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสงได้มากกว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับ
จากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และเปลี่ยนคลื่นของแสงที่สะท้อน กลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล  หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงเอาสัญญาณเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพ บนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง
สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพมีดังนี้
             - สแกนเนอร์
             - สาย SCSI สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
             - ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้ สแกนภาพตามที่กำหนด
             - สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำกลับมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนด้าน OCR
             - จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
             - เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์หรือสไลด์โปรเจคเตอร์
ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน  แบ่งเป็นประเภทดังนี้
             1. ภาพ Single Bit 
                ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไ่ม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
                - Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
                 - Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ
             2. ภาพ Gray Scale 
                ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิมภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า
ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
             3. ภาพสี
                หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร
             4. ตัวหนังสือ 
                ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Recognize) มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น