วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 7 โมเด็มและการ์ดเสียง



สาระการเรียนรู้
  1. บทนำ
  2. การติดต่อสื่อสาร
  3. มาตรฐานต่างๆของโมเด็ม
  4. มาตรฐานของ X2,K56 Flex และ V.90
  5. การแบ่งประเภทของโมเด็ม
  6. การเลือกใช้งานโมเด็ม
  7. การติดตั้งโมเด็ม
  8. การ์ดแสดงเสียง
  9. ชนิดของการ์ดแสดงเสียง
  10. การติดตั้งการ์ดแสดงเสียง
  11. การเลือกซื้อการ์ดเสียง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  1. สามารถบอกถึงโมเด็มชนิดต่างๆ
  2. สามารถบอกมาตรฐานต่างๆ ของโมเด็มได้
  3. สามารถติดตั้งโมเด็มไว้ใช้งานได้
  4. สามารถอธิบายถึงการ์ดแสดงเสียงได้
  5. บอกถึงชนิดของการ์ดแสดงเสียงได้
มาตรฐานของโมเด็ม
มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ของโมเด็ม 
          มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ของโมเด็ม กำหนดขึ้นโดยองค์การมาตรฐานสื่อสากล หรือ CCITT(International Telephone and Telephone and Telegraph Consultative Committee) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น ITUT (International Telephone and Telegraph Consultative Committee) โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความเร็วในการรับส่งข้อมูล ความถี่ที่ใช้ และเทคนิค การผสมสัญญาณในสาย เป็นต้น หน่วยงาน ITU-T มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการสื่อสารและรับส่งข้อมูล ผู้ผลิตรายใหญ่ทั่วโลกจึงปฏิบัติตามมาตรฐานของ CCITT หรือ ITU-T ทำให้โมเด็มซึ่งมียี่ห้อแตกต่างกันสามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ของโมเด็ม ประกอบด้วย
               1. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
               2. การผสมสัญญาณแบบ FSK, PSK
ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
          ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มเรียกว่า บิตต่อวินาที (bit per second, bps) หรือ Bit Bate ส่วนอัตราในการส่งข้อมูลเป็นการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณไฟฟ้าในสายส่งเรียกว่า Baud Rat ส่วนเดิมการรับส่งข้อมูลจะใช้เทคนิคการผสมสัญญาณแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนเช่น การเปลี่ยนแปลงความถี่ของข้อมูลจาก และ อัตราการส่งข้อมูลและอัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในสายส่งจึงมีค่าเท่ากันหรือสัญญาณรูปคลื่น 1 ลูกจะแทนข้อมูล บิต ดังนั้นอัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในสายส่ง (Baud Rate) จึงเป็นอัตราในการส่งข้อมูล ต่อมาเทคนิคการผสมสัญญาณมีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สื่อสารกันได้ดีขึ้นแม้จะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในสายยังเท่าเดิม เช่น โมเด็มรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1,200 Band เราจะไม่ทราบว่าโมเด็มมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้กี่บิตต่อวินาที เนื่องจากถ้าโมเด็มผสมสัญญาณ บิตต่อหนึ่งลูกคลื่น โมเด็มจะรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1,200 บิตต่อวินาที หรือถ้าโมเด็มผสมสัญญาณ บิตต่อหนึ่งลูกคลื่นที่เปลี่ยนแปลงในสายส่ง โมเด็มจะรับส่งข้อมูลได้เร็วถึง 4,800 บิตต่อวินาที โดยยังมีอัตราการเปลี่ยนแปลงในสายส่งเท่ากัน 1,200 Band เหมือนเดิม เราจึงเลิกใช้คำว่า Band Rate เพื่อบอกความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มและใช้คำว่า Bit Rate หรืออัตราการส่งข้อมูลเป็นบิตต่อวินาทีแทน



การผสมสัญญาณแบบ FSK, PSK
          มาตรฐานการผสมสัญญาณที่ใช้มากในปัจจุบันคือ Frequency Shift Keying(FSK), Phase Shift Keying(PSK) และ Quadrature Amplitude Modulation(QAM) Frequency Shift Keying โมเด็มความเร็วต่ำ โดยแทนสัญญาณด้วย และ ด้วยความถี่ต่างกัน ฝ่ายส่งจะใช้ความถี่สองความถี่ แทน และ ส่วนฝ่ายรับใช้ความถี่อีกสองความถี่แทน และ ทั้งสองฝ่ายจึงใช้ความถี่รวมสี่ความถี่ การผสมสัญญาณแบบ FSK มักใช้กับโมเด็มมีความเร็วประมาณ 300 ถึง 600 บิตต่อวินาที และใช้กับโมเด็มแบบ Acoustic Coupler ความเร็วสูงสุดของโมเด็มที่ใช้เทคนิคในการผสมสัญญาณจะอยู่ที่ 1,200 บิตต่อวินาที ปกติโมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้การผสมสัญญาณแบบ FSK จะรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 300 บิตต่อวินาที การผสมสัญญาณแบบ FSK นี้จะได้อัตราการส่งข้อมูล (Bit Rate) จะเท่ากับ Baud Rate เสมอ
การผสมสัญญาณแบบ Phase Shift Keying (PSK) นั้นใช้หลักการแทนข้อมูล และ เป็นการแปลงสัญญาณของสายส่ง(Phase) เช่น อาจกำหนด 0แทนด้วยองศาหรือมุมของคลื่นให้มีความต่อเนื่องกันไป ส่วน แทนที่มุมจากเดิม 180 องศา  Quadrature Amplitude Modulation (QAM) คือการผสมสัญญาณการแปลง Phase และขนาดของสัญญาณพร้อมกัน เทคนิคของโมเด็มความเร็วสูง ซึ่งถ้าใช้ Phase อย่างเดียว มุมที่เปลี่ยนจะมีค่าน้อยไม่เพียงพอทำให้มีความผิดพลาดได้ ถ้าใช้การเปลี่ยน Phase และขนาดของสัญญาณประกอบด้วยจะทำให้วงจรด้านรับแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาณของข้อมูลได้ชัดเจน
          สมัยแรก ๆ โมเด็มที่มีใช้งาน จะมีความเร็วแค่เพียง 1,200 bps เท่านั้น และได้มีการพัฒนาความเร็วให้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน ความเร็วของโมเด็มจะอยู่ที่ 56Kbps มาตราฐานของโมเด็มแต่ละรุ่นตามตารางต่อไปนี้

มาตราฐาน
Baud Rate
Bit Rate
V.32 bis
2,400
7,200/9,600/12.000/14,400
V.fast, V.FC
2,400
28,800
V.34
2,400
28,800
V.34+
2,400
33,600
X2
2,400
57,600
K56 Flex
2,400
57,600
V.90
2,400
57,600

Baud Rate คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของลูกคลื่นสัญญาณ โดยมากจะมีค่าเป็น 2,400
Bit Rate คืออัตราการส่งข้อมูล ที่สามารถรับส่งได้จริง
          ในส่วนของโมเด็มที่มีความเร็วสูงกว่า 33.6Kbps หรือที่เห็นเป็น 56Kbps นั้น ความจริงแล้วจะมีอัตราการรับข้อมูลได้สูงสุด ไม่เกิน 53Kbpsและสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดเพียงแค่ประมาณ 33.6Kbps เท่านั้น ลองนึกภาพการเอาโมเด็มแบบ 56Kbps 2 ตัวมาต่อกันโดยตรง จะเห็นว่าถ้าหากอัตราการส่งข้อมูล จะได้ไม่เกิน 33.6Kbps หมายความว่า เราจะสามารถต่อโมเด็ม ตัวด้วยกันตรง ๆ ได้ความเร็วไม่เกิน 33.6Kbps นะครับ หลายท่านคงจะงง ว่าแล้วที่เห็นความเร็วได้สูงกว่านั้นล่ะ คืออะไร คำตอบก็คือระบบ โมเด็มที่ ISP ส่วนใหญ่ใช้งานกันในการให้บริการด้วยความเร็ว56Kbps จะเป็นการต่อโดยตรง เข้ากับชุมสายโทรศัพท์แบบดิจิตอล จึงทำให้สามารถส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงสุด 53Kbps ได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพ ของคู่สายและองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย)

           นอกจากนี้ หากการเชื่อมต่อโมเด็มในแบบ 56Kbps โดยมีการต่อผ่านระบบ PABX หรือระบบโทรศัพท์ตู้สาขาต่าง ๆ (เช่น ตามหอพักหรือโรงแรม) จะสามารถเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงสุดที่ประมาณ 33.6Kbps เท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่า ระบบ PABX จะมีการลดทอนระดับสัญญาณต่าง ๆ ลงไปอีก หากต้องการต่อใช้งานให้ได้ความเร็วใกล้เคียงกับ 56Kbps ก็ต้องต่อโดยใช้ สายโทรศัพท์ที่เป็นสายตรงจากชุมสายโทรศัพท์เท่านั้น

มาตราฐานของ X2, K56Flex และ V.90
           ครั้งแรกที่มีการคิดมาตราฐานของโมเด็มที่มีความเร็วสูงกว่า 33.6Kbps หรือที่เรียกว่า 56Kbps จะมีอยู่ มาตราฐานที่เกิดขึ้นมาก่อน แต่ไม่สามารถใช้งานด้วยกันได้ นั่นคือ X2 และ 56K Flex ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานโมเด็ม ของทั้งสองมาตราฐานนี้ จะต้องใช้งานกับ ISP ที่รองรับระบบนั้น ๆ เท่านั้น ต่อมา เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ และการทำให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน จึงได้มีมาตราฐาน V.90 เกิดขึ้นสำหรับการใช้งานในความเร็ว56Kbps ซึ่งโมเด็มหลาย ๆ ยี่ห้อก็จะมีความสามารถ upgrade จากระบบเดิมให้เป็นแบบ V.90 ได้ด้วย ดังนั้นหากจะเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งานในปัจจุบัน ควรเลือกยี่ห้อหรือรุ่นที่รองรับมาตราฐาน V.90 ไว้ด้วย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการใช้งาน



  มาตรฐานในส่วนของซอฟต์แวร์
          โมเด็มจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งข้อมูล ขณะที่โมเด็มไม่ได้ติดต่อกับปลายทางเพื่อส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะสามารถส่งคำสั่งต่างๆให้โมเด็มได้โดยไม่รบกวนการส่งข้อมูล เมื่อเปิดสวิทช์ให้โมเด็มทำงาน สัญญาณที่โมเด็มได้รับจากคอมพิวเตอร์เป็นคำสั่ง เมื่อติดต่อคอมพิวเตอร์ปลายทางได้ โมเด็มจะส่งข้อมูล จนกว่าจะเลิกติดต่อคอมพิวเตอร์ปลายทางหรือวางสายโทรศัพท์ โมเด็มจึงกลับมาอยู่ในภาวะที่รับคำสั่งจากคอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง
บริษัท Hayes Microcomputers Products Inc. ผลิตชุดคำสั่งเพื่อสั่งงานโมเด็มใช้กับเครื่องพีซี ได้รับความนิยมถือเป็นมาตรฐานหนึ่ง คือคำสั่งการทำงานของโมเด็มโดยใช้ซอฟต์แวร์สั่งจากคอมพิวเตอร์ไปโมเด็มโดยตรง การใช้จึงมีความสะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องปรับสวิทช์ในการเลือกการทำงานแบบต่างๆของโมเด็ม คำสั่งนี้เป็นคำสั่งมาตรฐานของ Hayes ภาษาไทยอ่านว่า เฮยส์
           หน้าที่ของคำสั่งโมเด็มคือ การควบคุมการทำงานที่จำเป็นของโมเด็ม อาทิ ต่อสายโทรศัพท์หรือวางสายโทรศัพท์ รีเซ็ทโมเด็ม สั่งโมเด็มหมุนโทรศัพท์ตามเบอร์ที่ติดต่อ ปรับพารามิเตอร์ต่างๆของโมเด็ม ตอบรับสัญญาณโทรศัพท์ที่เรียกเข้ามา เลือกให้ทำงานแบบ Echo on หรือ Echo off เป็นต้น
          ข้อดีของคำสั่งโมเด็มคือ
          เดิมการใช้งานโมเด็มก่อนมีคำสั่งโมเด็มหรือโมเด็มในยุคแรกต้องใช้คนในการหมุนโทรศัพท์ติดต่อเพื่อส่งข้อมูลไปจนกว่าฝ่ายรับจะรับโทรศัพท์โมเด็มมีหน้าที่เพียงรับส่งสัญญาณและเปลี่ยนแปลงสัญญาณที่ได้รับมาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้งานโมเด็มจึงไม่สะดวก ผู้ใช้งานโมเด็มจึงต้องมีความเข้าใจการทำงานของโมเด็มอย่างดีจึงจะใช้งานได้ และต้องมีการปรับฟังก์ชันการทำงานในด้านต่างๆส่วนใหญ่จะใช้การผลักสวิทช์เล็กๆ(DIP Switch) ต่อมาคำสั่งโมเด็มได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยการทำงานโมเด็มให้มีความสะดวกขึ้นตามหน้าที่ของโมเด็มดังกล่าวข้างต้น และโมเด็มเป็นคำสั่งติดต่อมีความสามารถปรับตัวแปรต่างๆของโมเด็มให้ใช้งานได้ตามความต้องการ ซึ่งผู้ใช้โมเด็มไม่ต้องรู้เรื่องรายละเอียดของโมเด็ม โดยโปรแกรมจะติดต่อส่งข้อมูล การใช้งานโมเด็มจึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้


คอมพิวเตอร์สั่งงานโมเด็มโดยใช้ Hayes Command (AT command)
          1. โมเด็มต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ โมเด็มพร้อมรับคำสั่งจากคอมพิวเตอร์
          2. คอมพิวเตอร์สั่งให้โมเด็มทำงานตามคำสั่ง
          3. โมเด็มทำงานตามคำสั่ง
การทำงานของโมเด็มจะเก็บคำสั่งต่างๆไว้เป็นหน่วยความจำพิเศษ โดยเก็บไว้ภายในโมเด็ม โมเด็มที่ใช้คำสั่งของ Hayes คือความจำส่วน S-Register มาตรฐานคำสั่งโมเด็มของ Hayes


          Hayes Command หรือ AT Command คือคำสั่งการใช้งานโมเด็มดังกล่าวข้างต้น คำสั่งทุกคำสั่งจะขึ้นต้นด้วย AT เมื่อจบคำสั่งปิดท้ายด้วยรหัส ASCII ตัวที่ 13 คือ Carriage Return หรือกด Enter โมเด็มจะรับคำสั่งไปทำงานทันที และตอบ OK บางคำสั่งมีรหัสหรือตัวเลขต่อท้ายเพื่อระบุวิธีการทำงาน เช่น ATB อาจตามด้วย หรือ คำสั่งจริงอาจเป็น ATBO หรือ ATB1 ก็ได้ บางคำสั่งตามด้วยข้อมูลเช่น ATDT2730037 คือคำสั่งATDT คำสั่งให้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หมายเลข 2730037 เป็นต้น คำสั่งเรียงตามตัวอักษร ถึง Z

ประเภทของโมเด็ม 


โมเด็ม External
โมเด็ม Internal
โมเด็ม PCMCIA
           สำหรับการแบ่งประเภทของโมเด็มนั้นจะสามารถแยกออกมาได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ นั้นคือความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล และรูปแบบ การติดตั้งใช้งาน 
  • สำหรับประเภทของความเร็วนั้น จะสามารถ แบ่งออกได้ 4 ประเภทได้แก่ โมเด็มความเร็วต่ำ ที่นับว่า เป็นโมเด็มรุ่นแรกๆ ที่ออกมาโดยจะมีความเร็ว ตั้งแต่ 300bps จนถึง 4,800bps ประเภทที่สอง โมเด็มความเร็วปานกลาง โดยโมเด็มระดับนี้จะสามารถ ส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็ว 9,600bps ถึง 14,400bps พร้อมทั้งยังเพิ่มความสามารถในการใช้งานต่างๆ มากขึ้นด้วย และเป็นโมเด็มที่เริ่มมีการใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ พร้อมทั้งการรับส่ง ข้อมูล ในแบบ Full Duplex และ Half Duplex และสามโมเด็มความเร็วสูง สำหรับโมเด็มประเภทนี้จะมีอัตราการับส่งข้อมูลตั้งแต่ 19,200bps ถึง 28,800bps มีการใช้เทคนิคการผสมสัญญาณที่สลับซับซ้อนมากกว่าโมเด็มความเร็วปานกลาง และโมเด็มแบบที่สี่ซึ่งเป็นแบบที่กำลังนิยมใช้กันอยู่ใน ปัจจุบันนั้นคือ โมเด็ม ความเร็วสูงพิเศษ มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 56,000bps หรือ 56Kbps ซึ่งเป็นโมเด็มที่มีการส่งสัญญาณในแบบ ดิจิตอลความเร็วสูง และโมเด็มประเภทนี้จะมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP เข้ามาเกี่ยวข้อง
  • สำหรับประเภทของรูปแบบการติดตั้งใช้งานนั้น จะมีอยู่ 3 ประเภท ประเภทแรกจะเป็นแบบ Internal หรือแบบติดตั้งภายใน โมเด็มประเภทนี้จะมี ลักษณะเป็นการ์ด หรือแผงวงจร ที่จะติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์บริเวณสล็อต PCI ในปัจจุบัน ซึ่งข้อดีของโมเด็มลักษณะ นี้ก็ตรงที่จะประหยัด เนื้อที่ ภายนอก และมีราคาถูก แต่มักจะมีปัญหาตรงที่ติดตั้งใช้งานยุ่งยาก และตรวจดูสถานะการทำงานของโมเด็มได้ยาก

    แบบที่สองโมเด็มติดตั้งใช้งานภายนอก External ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ประกอบไปด้วยอะแด็ปเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อกับไฟฟ้าภายในบ้านเอง โดยไม่ต้องใช้ไฟร่วมกับ เครื่องคอมพิวเตอร์เหมือน โมเด็มแบบติดตั้งภายใน ทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เสถียรมากกว่า และผู้ใช้ยังสามารถ สังเกต การทำงานของโมเด็มจากไฟ แสดงสถานะบริเวณตัว เครื่องได้ง่ายกว่าด้วย โมเด็มแบบภายนอกสามารถแยกอินเทอร์เฟซ หรือพอร์ตที่ใช้ในการ เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้สองแบบ ได้แก่ อินเทอร์เฟซ แบบ Serial โดยโมเด็มแบบนี้จะเชื่อมต่อระหว่าง โมเด็มและเครื่องคอมพิวเตอร์โดย ใช้สาย RS-232 และจะมีอะแด็ปเตอร์ที่คอยจ่ายไฟให้กับตัวโมเด็ม ด้วย ส่วนอินเทอร์เฟซแบบ USB ก็อย่างที่รู้ๆ อยู่ว่าอินเทอร์เฟซแบบ USB นั้นสามารถที่จะใช้ไฟจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีอะแด็ปเตอร์ แบบที่สามโมเด็มแบบการ์ด PCMCIA สำหรับโมเด็มประเภท นี้จะมีลักษณะเป็นการ์ดขนาดเล็ก ที่เมื่อเวลาจะใช้งานจะต้องเสียบเข้ากับสล็อต PCMCIA ที่ปกติจะมีบนเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุก และโมเด็มประเภทนี้ จะมีราคาที่สูงมากกว่าโมเด็ม Internal และ External 

การติดตั้งโมเด็ม
การติดตั้งโมเด็ม (ถ้ามีการติดตั้งโมเด็มอยู่แล้วท่านข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย)
โดยทั่วไปโมเด็มแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Internal และ External และมีขั้นตอนในการติดตั้งดังนี้



External Modem หรือ เรียกว่าโมเด็มภายนอก
ขั้นตอนการเตรียมและติดตั้งอุปกรณ์ อุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบด้วย
1. โมเด็ม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น เช่น สายสัญญาณ , ตัวแปลงไฟ , ไดรว์เวอร์
2. โทรศัพท์สายตรง 1 หมายเลข
ต่อสายโมเด็มเข้าด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยต่อเข้ากับพอร์ต com1, com2 หรือ LPT1 อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อสายโทรเข้ากับโมเด็มตรงช่อง Line ในกรณีที่ท่านต้องการรับโทรศัพท์สายนอกที่โทรเข้ามาให้ท่านต่อ สายโทรศัพท์อีกเส้นจากตัวโทรศัพท์ไปที่โมเด็มตรงช่อง Phone (หมายเหตุ ถ้าท่านกำลังใช้อินเตอร์เน็ตอยู่แล้วมีคนโทรเข้ามา จะมีผลให้การติดต่ออินเตอร์เน็ตหลุดทันที) เสร็จแล้วให้ต่อตัวแปลงไฟ (adapter) และเสียบปลั๊กพร้อมเปิดสวิชต์โมเดมให้เรียบร้อย เมื่อต่ออุปกรณ์ต่างๆ เสร็จแล้วให้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการติดตั้ง Driver (Software Modem) มีดังนี้
- เรียกหน้าต่าง Control Panel ขึ้นมาโดยคลิกปุ่ม Start > Settings > แล้วเลื่อนเมาส์มาที่ Control Panel คลิกเมาส์หนึ่งครั้ง สำหรับผู้ที่ใช้ Windows 95 หรือ 98 ก็ทำลักษณะเดียวกัน ดังรูป


- หลังจากเข้ามาในหน้าต่าง Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Add New Hardware สำหรับผู้ที่ใช้วินโดวส์ 95 หรือ 98 ถึงแม้หน้าต่างของ Control Panel จะแตกต่างออกไปแต่ยังใช้ไอคอนเดียวกัน ดังรูป


- หลังจากนั้นจะขึ้นหน้าต่างในการเตรียมพร้อมเพื่อติดตั้งให้คลิกเมาส์ปุ่ม Next > ดังรูป 1.3 เสร็จแล้ววินโดวส์จะขึ้นหน้าต่างใหม่ขึ้นมาเพื่อแจ้งว่าวินโดว์จะค้นหาฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่แล้วบนเครื่องของท่านให้คลิกปุ่ม Next > ดังรูป


- ถ้าวินโดว์เจอฮาร์ดแวร์ที่อยู่บนเครื่องของท่านและยังไม่ได้ติดตั้งไดรว์เวอร์ วินโดว์จะขึ้นหน้า
จอถามว่าท่านต้องการติดตั้งฮาร์ดแวร์ที่วินโดว์เจอหรือไม่ ซึ่งจะมีช้อยให้เลือกว่า จะตอบ No หรือ Yes ให้ท่านตอบ No แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป



- เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าต่างถามว่าท่านต้องการให้วินโดว์ค้นหาฮาร์ดแวร์ที่จะติดตั้งหรือไม่ ให้ตอบ No แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป



- หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกว่า ท่านจะติดตั้งอะไร ให้เลือก โมเด็ม แล้วคลิกปุ่ม Next > ดังรูป


- หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกชนิด และความเร็วของโมเด็ม แต่ให้คุณคลิกปุ่ม Have Disk
ดังรูป เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าต่างให้ใส่ที่อยู่ของไดรว์เวอร์ที่จะติดตั้ง เช่น ไดรว์ A: หรือ ไดรว์ D: เป็นต้น หรือจะคลิกปุ่ม Brows เพื่อหาไดรว์เวอร์ เมื่อเลือกไดรว์ทเสร็จแล้วให้คลิก OK ตามลำดังเมื่อเลือกไดรว์เสร็จ หลังจากนั้นวินโดวส์จะทำการอ่านและก๊อปปี้ไฟล์ที่จำเป็นในการติดตั้งจากแผ่นดิสก์ หรือ ซีดีรอมลงในเครื่อง ถึงขั้นตอนนี้วินโดวส์อาจจะถามหาไฟล์จากแผ่นซีดี Windows 95,98 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเตรียมไว้ด้วย

เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next> จะเห็นหน้าต่างที่แสดงถึงการเสร็จสิ้นการติดตั้งแล้วให้คลิกปุ่ม Finish ถือว่าจบขั้นตอนการติดตั้ง Modem แต่หน้าจอถามให้ใส่รายละเอียดของ ประเทศ ให้เลือกประเทศไทย และหมายเลข Area Code คือ 02 เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Next>
เสร็จแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาเพื่อบอกว่าท่านได้ทำการติดตั้งโมเด็มเสร็จแล้ว คลิกปุ่ม Finish ถือว่าเสร็จขั้นตอน ดังรูป

Internal Modem หรือเรียกว่าโมเด็มภายใน
จะอยู่ในรูปของการ์ด หรือ อยู่บน Mainboard ของ เครื่องหรือที่เรียกว่า on board ส่วนมากจะถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็น Plug & Play หมายความว่าถ้าท่านเสียบโมเด็มเข้ากับแผงระบบของคอมพิวเตอร์ (Main Board) แล้ว ซีพียูจะรับรู้และเข้ามาตรวจเช็คภายหลังจากตรวจหน่วยความจำหลัก ถ้าโมเด็มของท่านวินโดว์ไม่รู้จักท่านต้องติดตั้งเหมือนกับ การติดตั้งโมเด็มภายนอก โดยมีขั้นตอนดังนี้อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1. โมเด็ม จะอยู่ในรูปของการ์ด หรือ อยู่บนบอร์ด (on board) ก็ได้ ถ้าท่านไม่รู้ว่าเป็นแบบไหน
สอบถามจากร้านที่ซื้อคอมพิวเตอร์ และให้ติดตั้งโมเด็มให้เรียบร้อย
2. โทรศัพท์สายตรง 1 หมายเลข พร้อมเสียบสายเข้ากับโมเด็มตรงช่อง Line และ เสียบสายอีกเส้นจากโมเด็มตรงช่อง Phone เข้าเครื่องรับโทรศัพท์
- เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่ปัญหาอะไรในระหว่างเข้าหน้าจอวินโดว์ๆ จะตรวจเช็คได้ว่ามีฮาร์ดแวร์ตัวใหม่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และถามว่าท่านต้องการจะติดตั้งหรือไม่ ให้ติดตั้งโดยติดตั้งไดรว์เวอร์จากไดรว์ A: หรือ ไดรว์ D: หรือที่อื่นๆ เมื่อติดตั้งเสร็จวินโดว์จะถามว่าจะให้ reset เครื่องใหม่หรือไม่ ให้คลิกปุ่ม Yes เสร็จแล้วเครื่องบูตใหม่ถือว่าเป็นเสร็จสิ้นการติดตั้ง


การ์ดแสดงสัญญาณเสียง (Sound Card)

เป็นอุปรณ์สร้างและจัดการกับระบบเสียงทั้งหมดภายในเครื่ิองพีซี เช่น เล่นไฟล์เสียงในรูปแบบต่างๆ, เสียงดนตรีตามคำสั่งแบบ MIDI , บันทึกและแปลงเสียงลงเป็นไฟล์แบบดิจิตอล, ตลอดจนผสม (Mix) เสียงจากหลายๆแห่งที่มาเข้าด้วยกัน เป็นต้น



ส่วนประกอบของก
าร์ดเสียง

A*อินเตอร์เฟส เป็นส่วนที่เชื่อมต่อเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ด ปัจจุบันซาวด์การ์ดแทบทุกรุ่นจะใช้อินเตอร์เฟสที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบบัสแบบ PCI แทบทั้งสิ้น
B*Synthesizer เป็นชิปตัวประมวลผลหลักที่ทำหน้าที่สร้างหรือสังเคราะห์สัญญาณเสียงขึ้นมาตามคำสั่งที่ได้รับ โดยใช้การสังเคราะห์แบบ FM หรือแบบ Wavetable
C*Digital I/O Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อกับการ์ด Digital I/O
D*AUX Connector เป็นช่างที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำพวกการ์ด TV Tuner หรือ MPEG2 Decoder เป็นต้น
E*Telephone Answering Device Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Voice Modem เพื่อรับส่งและส่งสัญญาณเสียงกับโมเด็ม
F*Analog/Digital Out jack เป็นช่องที่ใช่เชื่อมต่อเข้ากับลำโพง Center และ Sub-woofer หรือใช้สัญญาณเสียงไปยังอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยระบบดิจิตอล
G*Line In jack เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเเพื่อรับสัญญารเสียงเข้าสู้การ์ด เช่น เครื่องเล่นเทป และเครื่องเล่นมินิดิสก์ เป็นต้น
H*Microphone In jack เป็นช่องที่ใช้เสียบเข้ากับอุปกรณ์จำพวกไมโครโฟน เพื่อใช้ในการบันทึกเสียงหรือแปลงสัญาณเสียงไปเป็นไฟฟ้า (ลนาล็อก-สเตอริโอ)
I*Line Out jack เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับชุดลำโพงแบบ 5.1 Channel โดยใช้เชื่อมต่อเข้ากับลำโพงคู่หลัง (ซ้าย-ขวา)
K*MID/Joystick Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ MIDI หรืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการเล่นเกมเช่น Joystick และบังคับพวกพวงมาลัย เป็นต้น


รูปแบบของการ์ดเสียง
รูปแบบของการ์ดเสียงโดยทั่วไปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบคือ

  • แบบออนบอร์ด(Sound On Board) เป็นระบบเสียงตามมาตรฐาน AC'97 หรือ IntelHigh Definition Audio ที่อยู่ในรูปแบบของชิปเสียง ซึ้งถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดเพื่อให้พร้อมสำหรับการใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องหาการ์ดเสียงมาใส่
  • แบบตัวการ์ด(Sound Card) เป็นระบบเสียงที่คุณภาพเสียงดีกว่าแบบออนบอร์ด แต่จะต้องซื้อหามาใช้เอง โดยมากใช้เสียบลงในช่องสล็อตแบบ PCI บนเมนบอร์ด


มาตรฐาน AC'97 Intel High Definition Audio

AC'97 (Audio Codec '97) เป็ฯมาตรฐานด้านระบบเสียงของซีพียูที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยอินเทลในปี 1997 ส่วน Intel High Definition Audio (HD Audio) นั้น เป็นมาตรฐานใหม่ที่ถูกพฒนาขึ้นมาในปี 2004 ซึ้งให้คุณภาพของเสียงระดับ High Definition ในระบบ 5.1-7.1 Channel และได้รวมเอาความสามารถในการถอดรหัสเสียงรอบทิศทางในระบบ Dolby Digital เข้าไว้ในตัวด้วย โดย HD Audio ที่กล่าวถึงนี้จะมาพร้อมกับชิปเซ็ตในตระกูล i9xx Express ต่างของอินเทล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น